โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงวังไผ่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินกลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 96.8 รองลงมาเป็นกลุ่มชุดดินที่ 28B/49B เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินมีสีน้ำตาลเหลือง หรือแดง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิด ดินพวกตะกอนลำน้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติค่อนข้างต่ำ pH ประมาณ 4.5-5.5 และเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินเหนียวปนลูกรังหรือเศษ หินทราย ดินมีสีน้ำตาลหรือเหลือง เป็นดินตื้นถึงตื้นมาก มีการระบายน้ำดีระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกกว่า 2 เมตร มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ pH 5.0 - 6.5 คิดเป็นร้อยละ 3.2 ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินระดับน้อยมากสำหรับพื้นที่สูง ร้อยละ 71.0 ลักษณะทางธรณีวิทยาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินกรวดมน หินทราย หินทรายแป้งและหินดินดาน สีน้ำตาลแดง สีเทาเขียว; ยุคจูแรสซิก
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวังไผ่
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวังไผ่ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำซึ่งมีลักษณะทั่วไปมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองลงมาและสามารถใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมที่สำคัญได้ คิดเป็นร้อยละ 38.9 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาเป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำ ซึ่งมีลักษณะทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกิจกรรรมการทำป่าไม้ และปลูกพืชกสิกรรมประเภทไม้ยืนต้น คิดเป็นร้อยละ 32.0 ของพื้นที่ทั้งหมด และยังมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำอื่นๆ ได้แก่ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวังไผ่ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยน้ำยาว ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำน่าน แบ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำยาว 9 ลุ่มน้ำยาว 7 น้ำพาน และน้ำยอด มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่คือ น้ำยาว และน้ำพาน
คลิกเพื่อขยาย
|
คลิกเพื่อขยาย
|
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวังไผ่ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาว, ป่าน้ำสวด 88,719.06 ไร่ (ร้อยละ 64.28) รองลงมาอยู่นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ 38,713.44 ไร่ (ร้อยละ 28.05) พื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน 10,526.94 ไร่ (ร้อยละ 7.63) และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง 53.91 (ร้อยละ 0.04) ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1) และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 70.25 อยู่ในพื้นที่นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ร้อยละ 26.91 และพื้นที่บางส่วนพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) ร้อยละ 2.85 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวังไผ่
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง |
0.09 |
53.91 |
0.04 |
เตรียมการอุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน |
16.84 |
10,526.94 |
7.63 |
ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาว, ป่าน้ำสวด |
141.95 |
88,719.06 |
64.28 |
นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ |
61.94 |
38,713.44 |
28.05 |
รวม |
220.82 |
138,013.35 |
100.00 |
ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวังไผ่
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
155.12 |
96,948.73 |
70.25 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
6.28 |
3,926.98 |
2.85 |
นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
59.42 |
37,137.69 |
26.91 |
รวม |
220.82 |
138,013.40 |
100.00 |
คลิกเพื่อขยาย
|
คลิกเพื่อขยาย
|
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน
กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา |
พ.ศ. 2555 |
พ.ศ. 2558 |
พ.ศ. 2559 |
|||
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
|
1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก |
5,000 กล้า |
2 ราย |
30,000 |
10 ราย |
50,000 |
15 ราย |
2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน - การผลิตปุ๋ยหมัก - ปุ๋ยพืชสด - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ |
1 หมู่บ้าน 8 ตัน
|
22 ราย
|
2 หมู่บ้าน 20 ตัน |
32 ราย
|
1 หมู่บ้าน 22 ตัน |
33 ราย |
3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม - พื้นที่ปลูกใหม่ 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม - พื้นที่ปลูกใหม่ |
1 ครั้ง 28 ไร่
30 ราย 60 ไร่ |
1 หมู่บ้าน
1 หมู่บ้าน |
3 ครั้ง 120 ไร่
48 ราย 87 ไร่ |
2 หมู่บ้าน
3 หมู่บ้าน |
1 ครั้ง 15 ไร่
83 ราย 132 ไร่ |
1 หมู่บ้าน
3 หมู่บ้าน |
4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า |
1 กลุ่ม 10 กิโลเมตร |
70 ราย |
2 ครั้ง 26 กิโลเมตร |
129 ราย |
2 ครั้ง 26 กิโลเมตร |
333 ราย |
5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี เกษตรกรได้รับการอบรม |
1 หมู่บ้าน |
100 ครัวเรือน |
|
|
|
|
6. สนับสนุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก |
|
|
4 แห่ง |
1 หมู่บ้าน |
2 แห่ง |
1 หมู่บ้าน |
7. การจัดทำฝาย |
|
|
24 แห่ง |
1 พื้นที่ |
|
|
8. ลดการเผา |
|
|
450 ไร่ |
3 พื้นที่ |
1,125 ไร่ |
4 พื้นที่ |
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561