โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า มีหน่วยแผนที่ดินเป็นกลุ่มดินกว้างๆ กลุ่มชุดดินที่พบมากที่สุดคือ กลุ่มชุดดินที่ 62 คิดเป็นร้อยละ 69 ของกลุ่มชุดดินทั้งหมด โดยเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินร่วนเหนียวป่นทราย คุณภาพของดินและการใช้ประโยชน์มีปัญหาดินมีลักษณะเป็น ดินมีกรวดทราย ดินดาด ดินเค็ม และในบางพื้นที่ก็มีปัญหาดินเปรี้ยว และมีระดับการชะล้างพังทลายของดินในระดับปานกลางสำหรับพื้นที่สูง
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/
ที่มา: สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และ เป็นทรัพยากรป่าไม้ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ คิดเป็นร้อยละ 51.0 รองลงมาเป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 คิดเป็นร้อยละ 15.5 และ 14.3 ของพื้นที่ มีลำน้ำที่สำคัญไหลผ่านหลายสาย ได้แก่ น้ำแม่กอนหลวง ห้วยหก ห้วยน้ำซุ้ม ห้วยไส้ ห้วยเป้า ไหลลงสู่แม่น้ำปิงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่กอนหลวง
คลิกเพื่อขยาย
|
คลิกเพื่อขยาย
|
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/
ที่มา: สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้าส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ แบ่งออกเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแดง (เชียงดาว) คิดเป็นร้อยละ 82.24 และในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ คิดเป็นร้อยละ 11.84 ตามลำดับ ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
อุทยานแห่งชาติผาแดง (เชียงดาว) |
222.16 |
138,852.44 |
82.92 |
ป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาว |
31.73 |
19,830.56 |
11.84 |
นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ |
14.03 |
8,770.50 |
5.24 |
รวม |
267.93 |
167,453.50 |
100.00 |
มีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 87.10 พื้นที่เกษตรกรรม (โซน A) คิดเป็นร้อยละ 5.60 (ดังตาราง) สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ พืชพรรณธรรมชาติในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ผลัดใบดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ห้วยเป้า
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่เกษตรกรรม (โซน A) |
15.02 |
9,385.08 |
5.60 |
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
233.37 |
145,856.03 |
87.10 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
0.01 |
5.54 |
0.00 |
นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
19.53 |
12,206.85 |
7.29 |
รวม |
267.93 |
167,453.50 |
100.00 |
|
|
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/
ที่มา: สำนักยุทธศาสตร์และแผน
ส่งเสริมให้ชุมชนใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกต้อง และประกอบอาชีพโดยวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และร่วมกันอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยจัดทำขอบเขตที่ดินรายแปลงของเกษตรกร ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 2 ชุมชน พื้นที่ 3,139.78 ไร่ และทำการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้เหมาะสม และสนับสนุนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำ ป่าเปียก ป่าพื้นบ้านอาหารชุมชน และป่าแนวเขตกันชนในรูปแบบการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง พื้นที่ 650 ไร่ ปลูกป่าชาวบ้านในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 8,000 ต้น พื้นที่ 61 ไร่ เกษตรกร 56 ราย ปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายและพื้นที่ เกษตรกร 69 ราย จำนวน 295,000 กล้า พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กสำหรับการเกษตรและการอุปโภคบริโภค เช่น ฝายกึ่งถาวร ถังกักเก็บน้ำ บ่อพวง และระบบกระจายน้ำ ในพื้นที่ 2 แห่ง สร้างฝายชะลอน้ำและ ดักตะกอน จำนวน 94 ลูก ทำแนวกันไฟความยาวรวม 50 กิโลเมตร และกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเฝ้าระวังรักษาป่า บวชป่า การขยายพันธุ์พืชท้องถิ่น การอนุรักษ์พันธุ์ปลา จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และพัฒนาหมู่บ้านสะอาด ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 68 ตัน และตรวจวิเคราะห์คุณภาพดินและน้ำในพื้นที่ รณรงค์ลดการใช้สารเคมี โดยให้ความรู้ในการใช้สารเคมีเกษตรที่ถูกต้อง และเฝ้าระวังผลกระทบของสารเคมีโดยตรวจปริมาณสารพิษในเลือดของเกษตรกร 217 ราย ซึ่งพบว่าอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 1.84 ระดับปลอดภัยร้อยละ 18.89 ระดับเสี่ยงร้อยละ 41.47 และระดับไม่ปลอดภัยร้อยละ 37.79
กิจกรรม |
2555 |
2556 |
2557 |
2558 |
2559 |
รวม |
|
1 หมู่บ้าน/385 แปลง /200 ราย/1,729.83 ไร่ |
- |
1 หมู่บ้าน/ 322 แปลง 188 ราย/1,409.95 ไร่ |
- |
- |
2 หมู่บ้าน/707 แปลง/388 ราย/3,139.78 ไร่ |
1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก (ราย/ กล้า) - ปลูกในพื้นที่ทำกินของเกษตรกร |
20,000 กล้า 5 ราย |
50,000 กล้า 5 ราย |
62,000 กล้า 12 ราย |
100,000 กล้า 32 ราย |
62,000 กล้า 15 ราย |
295,000 กล้า 69 ราย |
2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน (การผลิตปุ๋ยหมัก) |
4 ตัน |
10 ตัน |
20 ตัน |
14 ตัน |
20 ตัน |
68 ตัน |
3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ (ไร่/ ราย)
3.2 โครงการป่าชาวบ้าน (ไร่/ ต้น/ ราย) |
100 ไร่/280 ราย 1,000 ต้น/10 ราย/ 10 ไร่ |
150 ไร่/280 ราย 1,500 ต้น/16 ราย/16 ไร่ |
100 ไร่/280 ราย 2,000 ต้น/10 ราย/ 10 ไร่ |
150 ไร่/350 ราย 2,500 ต้น/10 ราย/ 15 ไร่ |
150 ไร่/350 ราย 1,000 ต้น/10 ราย/ 10 ไร่ |
650 ไร่/1,540 ราย 8,000 ต้น/56 ราย/ 61 ไร่
|
4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า (กม.) |
|
|
20 กิโลเมตร |
20 กิโลเมตร |
10 กิโลเมตร |
50 กม. |
5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี (หมู่บ้าน/ ครั้ง/ ราย) |
1 หมู่บ้าน/1 ครั้ง/50 คน |
1 หมู่บ้าน/1 ครั้ง/50 คน |
1 หมู่บ้าน/1 ครั้ง/50 คน |
1 หมู่บ้าน/1 ครั้ง/50 คน |
2 หมู่บ้าน/1 ครั้ง/80 คน |
2 หมู่บ้าน/5 ครั้ง/280 คน |
6. สนับสนุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก (แห่ง/ บ้าน) |
|
|
1 แห่ง/1 หมู่บ้าน |
1 แห่ง/1 หมู่บ้าน |
1 แห่ง/1 หมู่บ้าน |
2 หมู่บ้าน/3 แห่ง |
7. การจัดทำฝาย (ฝาย) |
10 ลูก |
20 ลูก |
14 ลูก |
20 ลูก |
30 ลูก |
94 ลูก |
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561