ทรัพยากรดิน

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงสะเนียน มีหน่วยแผนที่ดินซึ่งเป็นกลุ่มดินกว้าง ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินกลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 92.4 รองลงมาเป็นกลุ่มชุดดินที่ 48E เนื้อดินบนส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนเศษหินหรือปนกรวด ก้อนกรวดขนาดใหญ่เป็นหินกลมมน มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ คิดเป็นร้อยละ 1.7 ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรงมากสำหรับพื้นที่สูง ร้อยละ50.87 ลักษณะทางธรณีวิทยาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินโคลน หินดินดาน หินทรายและหินทรายแป้ง สีเทาเขียว สีเขียวขี้ม้า

 

แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสะเนียน


คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


ทรัพยากรน้ำ

         โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสะเนียน มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำซึ่งมีลักษณะทั่วไปมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองลงมาและสามารถใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมที่สำคัญได้ คิดเป็นร้อยละ 38.1 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาเป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำ ซึ่งมีลักษณะทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกิจกรรรมการทำป่าไม้ และปลูกพืชกสิกรรมประเภทไม้ยืนต้น คิดเป็นร้อยละ 21.1 ของพื้นที่ทั้งหมด และยังมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำอื่นๆ ได้แก่ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 5 โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสะเนียน อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำสาขาน้ำสมุน  และลุ่มน้ำสาขาลุ่มน้ำแม่น้ำน่านส่วนที่ 2 มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ น้ำสมุน และน้ำสะเนียน


คลิกเพื่อขยาย

 


คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


พื้นที่ป่า

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสะเนียน มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 90,532.28 ไร่ (ร้อยละ 75.50) รองลงมาอยู่ในเขตนอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ 18,416.06 ไร่ (ร้อยละ 15.36)  และพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาตินันทบุรี วนอุทยานถ้ำผาตูบ ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1) และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 79.87 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ  (โซน E) ร้อยละ 19.08 และพื้นที่บางส่วนอยู่ในพื้นที่นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ร้อยละ 1.05 ดังตารางที่ 2       

ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสะเนียน

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

ป่าสงวนแห่งชาติ

144.85

90,532.28

75.50

ป่าถ้ำผาตูบ

5.11

3,195.47

2.66

ป่านาซาวฝั่งซ้ายถนนสายแพร่-น่าน

76.99

48,118.88

40.13

ป่าน้ำยาว, ป่าน้ำสวด

62.75

39,217.94

32.70

เตรียมการอุทยานแห่งชาตินันทบุรี

17.39

10,865.74

9.06

วนอุทยานถ้ำผาตูบ

0.16

102.26

0.09

นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์

29.47

18,416.06

15.36

รวม

191.87

119,916.30

100.00

 

ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสะเนียน

การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C)

153.25

95,783.13

79.87

พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E)

36.60

22,876.60

19.08

นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ

2.01

1,256.57

1.05

รวม

191.87

119,916.30

100.00

คลิกเพื่อขยาย

 

คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปลูกป่าชาวบ้าน หญ้าแฝก การปลูกฟื้นฟูและดูแลป่าชุมชน การจัดทำแนวกันไฟป่า การก่อสร้างฝายชะลอน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กพร้อมระบบกระจายน้ำ การรณรงค์การลดการใช้สารเคมี และการผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง กิจกรรมที่สอง คือ การปรับระบบการเกษตรและการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม โดยการสำรวจขอบเขตและการจัดทำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลง

กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา

พ.ศ. 2555

พ.ศ. 2558

พ.ศ. 2559 (ก.ค.59)

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก

40,000

75

40,000

103

40,000

115

2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน

    - การผลิตปุ๋ยหมัก

    - ปุ๋ยพืชสด

    - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

10ตัน

10 ราย

10ตัน

10 ราย

10ตัน

10 ราย

3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร

  3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

 

 

20ไร่

 

 

10ไร่

 

 

20ราย

 

 

10ราย

 

 

50ไร่

 

 

10ไร่

 

 

50ราย

 

 

10ราย

 

 

20ไร่

 

 

10ไร่

 

 

 

20ราย

 

 

10ราย

4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า

10กม.

85 ราย

10กม.

95 ราย

10กม.

85 ราย

5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี

   เกษตรกรได้รับการอบรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561