ทรัพยากรดิน

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 62 คิดเป็นร้อยละ 98.75  ดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 % ดินที่พบในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์   อัตราการชะล้างพังทลายดินในพื้นที่มีการชะล้างพังทลายรุนแรงมากในพื้นที่สูงถึงร้อยละ 82.18


คลิกเพื่อขยาย

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน

เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน


ทรัพยากรน้ำ

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลองแหล่งน้ำตามธรรมชาติจำนวน 2 สาย ได้แก่ น้ำแม่สลอง  มีต้นกำเนิดมาจาก ดอยหก ดอยสามเส้าใหญ่ ดอยแม่สลองน้อย ดอยอองรอง ดอยเต่า อยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ มีทิศการไหลไปทางทิศตะวันออก และน้ำแม่จัน มีต้นกำเนิดมาจากดอยสามเส้าน้อย ดอยสามเส้าใหญ่ ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ มีทิศการไหลไปทางทิศตะวันออก มีลำน้ำสาขาที่สำคัญคือลำน้ำแม่จันน้อย ห้วยสันกำแพง ห้วยทาก ห้วยมะหินฝน มีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นได้แก่ อ่างเก็บน้ำ 3 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำบ้านสันติคีรี อ่างเก็บน้บ้านเลาสิบ และอ่างเก็บน้ำบ้านแม่จันหลวง มีฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก 8 ฝาย บ่อน้ำตื้น 5 แห่ง บ่อโยก 1 แห่ง สระน้ำ 1 แห่ง พื้นที่ลุ่มน้ำของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง อยู่ในเขตลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำสาขาลุ่มน้ำแม่จัน พื้นที่ลุ่มน้ำย่อยอยู่ในเขตลุ่มน้ำแม่จัน (สายหลัก) ลุ่มน้ำแม่สลอง และลุ่มน้ำแม่คำ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำส่วนใหญ่ในพื้นที่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B คิดเป็นร้อยละ 46.94 รองลงมาอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A คิดเป็นร้อยละ 24.87 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 ร้อยละ 16.74

 


คลิกเพื่อขยาย


คลิกเพื่อขยาย
 
 
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน


พื้นที่ป่า

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง มีพื้นอยู่ในเขตป่าน้ำแม่คำ, ป่าน้ำแม่สลองและป่าน้ำแม่จันฝั่งซ้ายคิดเป็นร้อยละ 83.12 รองลงมาอยู่ในเขตป่าดอยบ่อ คิดเป็นร้อยละ 9.33 และอยู่นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ คิดเป็นร้อยละ 7.55 ของพื้นที่โครงการ

ป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง และตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

พื้นที่ป่าสงวน ตารางกิโลเมตร ไร่ ร้อยละ

ป่าดอยบ่อ

11.17

6,965.50

9.33

ป่าน้ำแม่คำ ป่าน้ำแม่สลอง และป่าน้ำแม่จันฝั่งซ้าย

99.27

62,044.87

83.12

นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ

9.01

5,631.53

7.55

รวม

119.43

75,641.89

100.00

 

          มีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 51.88 พื้นที่เกษตรกรรม (โซน E) ร้อยละ 47.43 และนอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ คิดเป็นร้อยละ 0.69 ตามลำดับ

การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง และตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

พื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ (โซน C)

61.96

38,723.06

51.88

พื้นที่ป่าเพื่อเศรษฐกิจ (โซน E)

56.64

35,400.47

47.43

นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ

0.83

518.36

0.69

รวม

119.43

74,641.89

100.00

 

คลิกเพื่อขยาย

 

คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน


การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน

กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา

พ.ศ. 2555

พ.ศ. 2558

พ.ศ. 2559

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก

600,000 กล้า

30 คน

60,000

20 คน

100,000

20 คน

2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน

    - การผลิตปุ๋ยหมัก

    - ปุ๋ยพืชสด

    - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

-

 

 

-

 

3 หมู่บ้าน

10 ตัน

5 คน

 

 

5 หมู่บ้าน

50 ตัน

50 คน

3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร

  3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

 

80 ไร่ /

3 หมู่บ้าน

 

40 ไร่

 

150 คน

 

 

42 คน

 

 

 

 

 

 

16 ไร่

 

 

 

 

7 คน

 

 

 

50 ไร่ /

2 หมู่บ้าน

 

40 ไร่

 

285 คน

 

 

21 คน

4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า

1 กลุ่ม 10 กิโลเมตร

70  ราย

6 กลุ่ม 44 กิโลเมตร

629 คน

7 กลุ่ม 55 กิโลเมตร

594 คน

5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี

   เกษตรกรได้รับการอบรม

 

 

2 หมู่บ้าน

20 คน

3 หมู่บ้าน

20 คน

6. สนับสนุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก

 

 

10 จุด

3 กลุ่มบ้าน

25 จุด

5 กลุ่มบ้าน

7. การจัดทำฝาย

 

 

7 แห่ง

2 กลุ่มบ้าน

 

 

8. ลดการเผา  

 

 

450 ไร่

8 กลุ่มบ้าน

1,200 ไร่

12 กลุ่มบ้าน

 

ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561