โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงถ้ำเวียงแก พบกลุ่มชุดดินเพียง 2 กลุ่มเท่านั้น คือ กลุ่มชุดดินที่ 62 และกลุ่มชุดดินที่ 3 โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 62 คิดเป็นร้อยละ 99 ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรงมากสำหรับพื้นที่สูง ร้อยละ 44.53 ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนใหญ่เป็นหินโคลน หินดินดาน หินทรายและหินทรายแป้งสีเขียวเทา และสีเขียวขี้ม้า
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/
ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแก มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 ร้อยละ 65.5 เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกิจกรรรมการทำป่าไม้ และปลูกพืชกสิกรรมประเภทไม้ยืนต้น และมีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ได้แก่ ห้วยน้ำยาวเป็นลำน้ำสายหลักที่ไหลผ่านหมู่บ้านหางทุ่ง บ้างปางบุก และมีลำห้วยสาขา ได้แก่ น้ำควน ห้วยถ้ำหมี น้ำโมง เป็นลำน้ำสายหลักที่มีต้นกำเนิดมาจากดอยแปหลวง ดอยขุนน้ำปุก ทางทิศตะวันตกของพื้นที่ มีลำน้ำสาขาได้แก่ น้ำพาน น้ำพานน้อย มีพื้นที่อยู่ในลุ่มน้ำหลักคือ ลุ่มน้ำน่าน โดยแบ่งเป็นลุ่มน้ำ 2 สาขา ได้แก่ ลุ่มน้ำห้วยน้ำยาว ร้อยละ 92.16 และลุ่มน้ำแม่น้ำน่านตอนบน ร้อยละ 7.84
คลิกเพื่อขยาย
|
คลิกเพื่อขยาย
|
ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงถ้ำเวียงแกมีพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนป่าน้ำยาว และป่าน้ำสวด พื้นที่จำนวน 47,888.78 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 74.81 (ดังตารางที่ 1) มีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) มากที่สุดร้อยละ 76.77 พื้นที่เกษตรกรรม (โซน E) ร้อยละ 0.54 ดังตารางที่ 2
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำยาว, ป่าน้ำสวด |
76.62 |
47,888.78 |
74.81 |
นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ |
25.80 |
16,122.94 |
25.19 |
รวม |
102.42 |
64,011.71 |
100.00 |
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
78.63 |
49,144.19 |
76.77 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
0.56 |
348.26 |
0.54 |
นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
23.23 |
14,519.26 |
22.68 |
รวม |
102.42 |
64,011.71 |
100.00 |
|
|
ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน
ดำเนินกิจกรรมปลูกป่าชาวบ้านรวมจำนวน 42ราย/85ไร่ สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายและจัดระบบในแปลงปลูกไม้ผลจำนวน 30 ราย กล้าหญ้าแฝกรวม 150,000 กล้า กิจกรรมฟื้นฟูป่าชุมชนจำนวน 2 หมู่บ้านรวม 133 ไร่ กิจกรรมการจัดทำฝาย ทั้งฝายถาวร ฝายกิ่งถาวร และฝายดักตะกอนรวม 3 แห่ง กิจกรรมแหล่งน้ำขนาดเล็ก ได้สนับสนุนเพื่อใช้ประโยชน์ในแปลงเกษตรกร จำนวน 2 หมู่บ้าน สร้างแหล่งน้ำจำนวน 12 จุด กิจกรรมสนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก จำนวน ๒ กลุ่มทุกปี กิจกรรมสนับสนุนการทำแนวกันไฟ 2 กลุ่ม ทุกปี กิจกรรมรณรงค์ลดการใช้สารเคมี และลดการเผา ๓ หมู่บ้าน และจัดทำที่ดินรายแปลง จำนวน 4 บ้าน ซึ่งในระยะถัดไปจะดำเนินการนำกิจกรรมดังกล่าวไปขยายสู่หมู่บ้านเป้าหมายอื่นๆในปีถัดไป
กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา |
พ.ศ. 2555 |
พ.ศ. 2558 |
พ.ศ. 2559 |
|||
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
|
1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก |
5,000 กล้า |
1 หมู่บ้าน |
30,000 |
10 ราย |
50,000 |
35 ราย |
2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน - การผลิตปุ๋ยหมัก - ปุ๋ยพืชสด - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ |
1 กลุ่ม 7 ตัน |
25 ราย |
2 กลุ่ม 15ตัน |
32 ราย |
1 กลุ่ม 22 ตัน |
36 ราย |
3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม - พื้นที่ปลูกใหม่ 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม - พื้นที่ปลูกใหม่ |
1 ครั้ง 13 ไร่
7ราย/12 ไร่
|
1 หมู่บ้าน
1 หมู่บ้าน |
3 ครั้ง 134 ไร่
39ราย/83ไร่
|
3 หมู่บ้าน
3 หมู่บ้าน |
3 ครั้ง 155 ไร่
42ราย/85ไร่
|
4 หมู่บ้าน
5 หมู่บ้าน |
4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า |
1 กลุ่ม 8 กิโลเมตร |
54 ราย |
2 ครั้ง 18 กิโลเมตร |
123 ราย |
2 ครั้ง 21 กิโลเมตร |
183 ราย |
5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี เกษตรกรได้รับการอบรม |
7 ราย |
1 หมู่บ้าน |
39 ราย |
4 หมู่บ้าน |
42 ราย |
5 หมู่บ้าน |
6. สนับสนุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก |
|
|
9 แห่ง |
4 หมู่บ้าน |
9 แห่ง |
5 หมู่บ้าน |
7. การจัดทำฝาย |
2 แห่ง |
1 พื้นที่ |
3 แห่ง |
1 พื้นที่ |
3 แห่ง |
1 พื้นที่ |
8. ลดการเผา |
672 ไร่ |
2 พื้นที่ |
1,264 ไร่ |
4 พื้นที่ |
1,294 ไร่ |
5 พื้นที่ |
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561