ทรัพยากรดิน

กลุ่มชุดดิน 

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงคลองลาน ส่วนใหญ่มีลักษณะดินดังนี้

          กลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นกลุ่มดินที่ลาดชันเชิงซ้อน ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ ร้อยละ 34.15

         กลุ่มชุดดินที่ 45 มีลักษณะคล้ายดินชุดหาดใหญ่ เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำหรือพื้นที่ตะพักลำน้ำที่ถูกยกตัวและมีการเกลี่ยผิวแผ่นดินให้ลดต่ำลง สภาพพื้นที่ ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้ำ ดี การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน ปานกลาง การซึมผ่านได้ของน้ำ ปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และเป็นที่รกร้าง ว่างเปล่า การแพร่กระจาย พบกระจายทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้ การจัดเรียงชั้น A-BA-Btc  ลักษณะและสมบัติดิน ดินเหนียวตื้นถึงชั้นกรวดกลมมนปนลูกรัง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาล ดินล่าง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0) มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินเหนียวปนลูกรังและปนหินกลมมน (ภายในความลึก 50 ซม.จากผิวดิน) มีสีน้ำตาล สีเหลืองปนน้ำตาลหรือสีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 5.0-5.5) ร้อยละ 23.59 ที่เหลือเป็นดินชุดกำแพงเพชร ดินชุดโคราช ดินขุดท่ายาง ดินชุดไทรงาม ดินชุดนครปฐม ดินชุดเพชรบุรี ดินชุดลาดหญ้า ดินชุวาริน ดินชุดสตึก และหน่วยดินผสม ร้อยละ 31.58 

 

 

 

 แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงคลองลาน


คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ  https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


ทรัพยากรน้ำ

ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงคลองลาน ส่วนใหญ่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 5 คิดเป็นร้อยละ 64.47 รองลงมาเป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A คิดเป็นร้อยละ 11.42  ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 คิดเป็นร้อยละ 8.90  ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 ร้อยละ 7.94  และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 คิดเป็นร้อยละ 7.26 ของพื้นที่

 

 

 
 


คลิกเพื่อขยาย


คลิกเพื่อขยาย

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


พื้นที่ป่า

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

            โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงคลองลาน มีส่วนใหญ่พื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองขลุง และป่าคลองแม่วงก์ ร้อยละ 55.24 รองลงมามีพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองสวนหมาก ร้อยละ 33.54 และมีในเขตอุทยานแห่งชาติคลองลาน ร้อยละ 8.76

 

ตาราง  พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง คลองลาน

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

อุทยานแห่งชาติคลองลาน

10.99

6,871.86

8.76

ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองขลุง และป่าคลองแม่วงก์

69.35

43,343.07

55.24

ป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองสวนหมาก

42.10

26,312.95

33.54

พื้นที่นอกเขตอนุรักษ์

3.09

1,928.52

2.46

รวม

125.53

78,456.41

100.00

 

การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

            โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวง มีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) ร้อยละ 54.10 พื้นที่เกษตรกรรม (โซน A) ร้อยละ 23   และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 19.42 

 

ตาราง  การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง คลองลาน

การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

พื้นที่เกษตรกรรม (โซน A)

28.88

18,047.15

23.00

พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C)

24.38

15,240.04

19.42

พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E)

67.91

42,444.61

54.10

นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ

4.36

2,724.61

3.47

รวม

125.53

78,456.41

100.00

 

 


คลิกเพื่อขยาย


คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ

กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา

พ.ศ. 2555

พ.ศ. 2556

พ.ศ. 2557

พ.ศ. 2558

พ.ศ. 2559

หน่วยนับ

หน่วยนับ

หน่วยนับ

หน่วยนับ

หน่วยนับ

1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก 

    - รณรงค์

    - แปลงสาธิตในพื้นที่ทำกิน

 

 

30,000 กล้า

 

 

40,000 กล้า

 

 

-

 

 

-

 

 

-

2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน

    - การผลิตปุ๋ยหมัก

    - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

 

-

 

15 ตัน

 

 

4 ตัน

1,340 ลิตร

 

25 ตัน

2,100 ลิตร

 

25 ตัน

4,500 ลิตร

3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร

3.1 โครงการป่าชาวบ้าน

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

 

 

-

 

 

500ต้น/5ราย

 

 

-

 

 

-

 

 

200ต้น/2ราย

4. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี

   เกษตรกรได้รับการอบรม

1ครั้ง/56ราย

บ้านอุดมทรัพย์

1ครั้ง/60ราย

บ้านอุดมทรัพย์

-

-

-


 

 

 

 

ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2560