โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงพบพระ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ลาดชันเชิงซ้อนประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ ร้อยละ 74.4 รองลงมาเป็น ดินชุดปากช่องประเภทที่เป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด ร้อยละ 25 และหน่วยผสมของดินตะกอนลำน้ำ ร้อยละ 0.7 ดินในการทำการเกษตร เป็นดินร่วนถึงดินเหนียว มีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ คือ ในบริเวณที่มีความลาดชัน มีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย จำเป็นต้องมีการจัดการเกี่ยวกับระบบการปลูกพืชและการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม สภาพการใช้ประโยชน์ในปัจจุบันใช้ในการปลูกพืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไม้ผล และไม้ยินต้น พืชตระกูลถั่วต่างๆ และมีระดับการชะล้างพังทลายของดินบนพื้นที่ที่สูงระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 46.6 ลักษณะทางธรณีวิทยาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินโคลนปนกรวด หินทราย หินปูนเนื้อดิน หินดินดานและหินเชิร์ต; ยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A เป็นพื้นที่ยังคงสภาพป่าสมบูรณ์ จำเป็นจะต้องสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และ เป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ และห้ามมิให้มีกิจกรรมของมนุษย์ในพื้นที่ดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 55.7 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาเป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำที่สภาพป่าได้ถูกบุกรุกแผ้วถางเป็นที่ใช้ประโยชน์ เพื่อกิจการพืชไร่เป็นส่วนมาก คิดเป็นร้อยละ 19.4 ของพื้นที่ทั้งหมด และยังมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำอื่นๆ ได้แก่ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวังไผ่ อยู่ในพื้นที่ลุ่มสะละวิน และลุ่มน้ำปิง มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่คือ ห้วยแม่ละเมา
คลิกเพื่อขยาย
|
คลิกเพื่อขยาย
|
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติ 228,466.78 ไร่ (ร้อยละ 63.31) รองลงมาอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 121,387.38 ไร่ (ร้อยละ 33.64) พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 512.94 ไร่ (ร้อยละ 0.14) และเขตอุทยานแห่งชาติ 146.57 (ร้อยละ 0.04) ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1) และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 66.89 อยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) ร้อยละ 32.64 และพื้นที่บางส่วนอยู่นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ร้อยละ 0.47 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า |
0.82 |
512.94 |
0.14 |
อุ้มผาง |
0.82 |
512.94 |
0.14 |
ป่าสงวนแห่งชาติ |
194.22 |
121,387.38 |
33.64 |
ป่าคลองวังเจ้าและป่าคลองสวนหมาก |
0.03 |
18.60 |
0.01 |
ป่าประดางและป่าวังก์เจ้า |
0.00 |
0.73 |
0.00 |
ป่าแม่กลองและป่าอุ้มผาง |
0.48 |
300.54 |
0.08 |
ป่าแม่สอด |
193.71 |
121,067.50 |
33.55 |
พื้นที่เตรียมการฯอุทยานแห่งชาติ |
365.55 |
228,466.78 |
63.31 |
น้ำตกพาเจริญ |
365.55 |
228,466.78 |
63.31 |
อุทยานแห่งชาติ |
0.23 |
146.57 |
0.04 |
คลองวังเจ้า |
0.23 |
146.57 |
0.04 |
ไม่มีข้อมูล |
16.56 |
10,347.76 |
2.87 |
รวม |
577.38 |
360,861.43 |
100.00 |
ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
386.21 |
241,378.20 |
66.89 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
188.44 |
117,774.58 |
32.64 |
นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
2.73 |
1,708.65 |
0.47 |
รวม |
577.38 |
360,861.43 |
100.00 |
|
|
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561