กลุ่มชุดดิน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาแตก ประกอบด้วยกลุ่มชุดดิน 3 ประเภท คือ กลุ่มชุดดิน 29B/46B กลุ่มชุดดินที่ 47E และกลุ่มชุดดินที่ 62 ซึ่งกลุ่มชุดดินที่ 62 มีมากถึงร้อยละ 99.57 ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาแตก
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาแตก มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญคือน้ำแม่ริมไหลผ่านทางตอนกลางของพื้นที่มีทิศการไหลไปทางทิศตะวันออก ไหลผ่าบ้านผาแตก ก่อนไหลวกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านบ้านผาเด่น และบ้านเอียก ก่อนไหลออกพื้นที่ มีลำห้วยสาขาในพื้นที่ได้แก่ น้ำแม่ตอ มีทิศการไหลทางทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ ไหลผ่านบ้านผาเด็ง ไหลลงน้ำแม่ริมทางตอนลงของพื้นที่ น้ำแม่หลอด มีทิศการไหลไปทางทิศตะวันออกก่อนไหลวกลงทางทิศใต้ แล้วไหลลงน้ำริมทางตอนกลางของพื้นที่ และลำห้วยสายอื่น ๆ เช่น ห้วยผาผึ้ง ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำส่วนใหญ่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A คิดเป็นร้อยละ 66.22 รองลงมาเป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 ร้อยละ 24.54 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 ร้อยละ 6.75 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B ร้อยละ 2.07 และ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 5 ร้อยละ 0.41ของพื้นที่
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
พื้นที่ป่าอนุรักษ์
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงผาแตก มีพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย 6,321.74 ไร่ ร้อยละ 16.54 และอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 31,905.19ไร่ ร้อยละ 83.46 แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตง 19,567.06 ไร่ ร้อยละ 51.19 ป่าสะเมิง 8,491.44 ไร่ ร้อยละ 22.21 และป่าแม่ริม 3,846.69 ไร่ร้อยละ 10.66
ตาราง พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาแตก
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
ป่าสงวนแห่งชาติ |
51.05 |
31,905.19 |
83.46 |
ป่าแม่แตง |
31.31 |
19,567.06 |
51.19 |
ป่าแม่ริม |
6.15 |
3,846.69 |
10.06 |
ป่าสะเมิง |
13.59 |
8,491.44 |
22.21 |
อุทยานแห่งชาติ |
10.11 |
6,321.74 |
16.54 |
ดอยสุเทพ-ปุย |
10.11 |
6,321.74 |
16.54 |
รวม |
61.16 |
38,226.93 |
100.00 |
การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงผาแตก มีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) ร้อยละ 98.99 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.01
ตาราง การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาแตก
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
60.54 |
37,840.08 |
98.99 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
0.62 |
386.85 |
1.01 |
รวม |
61.16 |
38,226.93 |
100.00 |
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน
กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา |
พ.ศ. 2555 |
พ.ศ. 2556 |
พ.ศ. 2557 |
พ.ศ. 2558 |
พ.ศ. 2559 |
|||||
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
|
1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก |
75,000 กล้า |
50 ราย |
30,000 กล้า |
50 ราย |
300,000 กล้า |
50 ราย |
50,000 |
70 ราย |
50,000 |
76 ราย |
2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน - การผลิตปุ๋ยหมัก - ปุ๋ยพืชสด - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ |
1 หมู่บ้าน 7 ตัน
|
7 ราย
|
1 หมู่บ้าน 5 ตัน
|
5 ราย
|
1 หมู่บ้าน 5 ตัน
|
5 ราย
|
2 หมู่บ้าน 10 ตัน |
14 ราย
|
2 หมู่บ้าน 10 ตัน |
16 ราย |
3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 3.1 ปลูกป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ (ไร่/ราย) 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน (ไร่/ต้น/ราย) |
-
5 ไร่ 500 ต้น
|
-
10 ราย
|
-
-
|
-
-
|
10 ไร่
-
|
100 ราย
10 ราย
|
10 ไร่
8 ไร่ 800 ต้น
|
50 ราย
8 ราย
|
10 ไร่
10 ไร่ 1,000 ต้น
|
100 ราย 10 ราย
|
4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า |
20 กิโลเมตร |
50 ราย |
- |
- |
- |
- |
32กิโลเมตร |
206 ราย |
36 กิโลเมตร |
213 ราย |
5. สนับสนุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
2 แห่ง |
1 แห่ง |
1 แห่ง |
1 แห่ง |
6. การจัดทำฝาย |
20 แห่ง |
1 พื้นที่ |
- |
- |
- |
- |
20 แห่ง |
1 พื้นที่ |
|
|
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561