ทรัพยากรดิน

     โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 62 คิดเป็นร้อยละ 95.0  ดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 % ดินที่พบในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ มีระดับการชะล้างพังทลายของดินในระดับปานกลางสำหรับพื้นที่สูง คิดเป็นร้อยละ 41.27 ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต แกรโนไดโอไรต์ ผลึกขนาดใหญ่และผลึกสองขนาด; ยุคไทรแอสซิก

 

 

แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา


คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน

เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212

ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน


ทรัพยากรน้ำ

     โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ น้ำแม่จันซึ่งไหลผ่านทางตอนเหนือของพื้นที่ ห้วยก้างปลาต้นกำเนิดมาจากเสาธงทางทิศใต้ของพื้นที่ และห้วยปูมีต้นกำเนิดมาจากดอยบ่อทางทิศใต้ของพื้นที่

     พื้นที่ลุ่มน้ำของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่จัน ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำโขง ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำส่วนใหญ่ในพื้นที่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A คิดเป็นร้อยละ 47.4 รองลงมาอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B คิดเป็นร้อยละ 22.1 และมีลักษณะอุทกธรณีวิทยาส่วนใหญ่เป็นชั้นหินอุ้มน้ำหินแกรนิต


คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน

เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212

ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน


พื้นที่ป่า

     โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา มีพื้นอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 51.92 เขตพื้นที่เตรียมการฯอุทยานแห่งชาติ คิดเป็นร้อยละ 39.22 และอยู่นอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 8.86 ของพื้นที่โครงการ ดังตารางที่1

ตารางที่1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

ป่าอนุรักษ์

88.31

55,193.05

51.92

พื้นที่เตรียมการฯอุทยานแห่งชาติ

66.71

41,696.31

39.22

นอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์

15.07

9,413.99

8.86

รวม

170.09

106,303.35

100.00

 

     มีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติอยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 68.04 และพื้นที่เกษตรกรรม (โซน E) พื้นที่เกษตรกรรมโซน (A) และนอกขอบเขตป่าสงวนแห่งขาติ คิดเป็นร้อยละ 21.48 7.53 และ 2.95 ของพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ ตามลำดับ ดังตารางที่2

ตารางที่2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา

การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

พื้นที่เกษตรกรรม (โซน A)

5.01

3,131.57

2.95

พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C)

115.73

72,331.06

68.04

พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E)

36.54

22,838.84

21.48

นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ

12.80

8,001.87

7.53

รวม

170.09

106,303.35

100.00

 

คลิกเพื่อขยาย

คลิกเพื่อขยาย

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน

เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212

ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน


การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561