โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงห้วยเขย่ง กลุ่มชุดดินแบ่งเป็นกลุ่มดินกว้าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดชันเชิงซ้อน ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ ร้อยละ 70.5 พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินระดับปานกลางสำหรับพื้นที่สูง คิดเป็นร้อยละ 51.2 ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนใหญ่เป็นหินเชิร์ต หินทัฟฟ์ หินปูน และหินภูเขาไฟ ส่วนใหญ่ถูกแปรสภาพ
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเขย่ง
ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเขย่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A พื้นที่ยังคงสภาพป่าสมบูรณ์ที่ปรากฏอยู่ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งจำเป็นจะต้องสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และ เป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 53.35 รองลงมาเป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีลักษณะทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งกิจกรรรมการทำป่าไม้ และปลูกพืชกสิกรรมประเภทไม้ยืนต้นคิดเป็นร้อยละ 13.83 อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาห้วยปิลอก ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำแม่กลอง มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ ห้วยประจำไม้ ห้วยป่าไร่ และห้วยเขย่ง
ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเขย่ง มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ178,006.07 ไร่ ร้อยละ 68.36 แบ่งเป็นอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ร้อยละ 62.62 และอุทยานแห่งชาติร้อยละ 5.74 และพื้นที่บางส่วนอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 75,409.56 ไร่ ร้อยละ 28.96 แบ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่ง 66,010.63 ไร่ ร้อยละ 25.35 และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาช้างเผือก 9,398.94 ไร่ ร้อยละ 3.61 และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) ร้อยละ 73.38 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ ร้อยละ 26.62
ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเขย่ง
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
ป่าสงวนแห่งชาติ |
120.66 |
75,409.56 |
28.96 |
ป่าเขาช้างเผือก |
15.04 |
9,398.94 |
3.61 |
ป่าห้วยเขย่ง |
105.62 |
66,010.63 |
25.35 |
อุทยานแห่งชาติ |
284.81 |
178,006.07 |
68.36 |
เขาแหลม |
23.92 |
14,952.65 |
5.74 |
ทองผาภูมิ |
260.89 |
163,053.42 |
62.62 |
ไม่มีข้อมูล |
11.15 |
6,967.56 |
2.68 |
รวม |
416.61 |
260,382.89 |
100.00 |
ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเขย่ง
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
305.70 |
191,065.05 |
73.38 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
110.91 |
69,317.84 |
26.62 |
รวม |
416.61 |
260,382.89 |
100.00 |
|
|
ที่มา : สำนักพัฒนา , สำนักยุทธศาสตร์และแผน
สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ต้นการบูร ต้นจันทน์ทองเทศน์ ไผ่หวาน ไม้ยืนต้น ไม้ท้องถิ่น และไม้ใช้สอยอื่นๆ สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน
กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา |
ปี 2555 |
ปี 2556 |
ปี 2557 |
ปี 2558 |
ปี 2559 |
รวม |
1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก |
50,000 กล้า 10 ราย |
50,000 กล้า 10 ราย |
50,000 กล้า 10 ราย |
80,000 กล้า 10 ราย |
50,000 กล้า 10 ราย |
280,000 กล้า |
2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน - การผลิตปุ๋ยหมัก - ปุ๋ยพืชสด - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ |
1 หมู่บ้าน 10 ตัน 25 ราย 20 ลิตร |
1 หมู่บ้าน 10 ตัน 25 ราย 20 ลิตร |
1 หมู่บ้าน 10 ตัน 25 ราย 40 ลิตร |
2 หมู่บ้าน 10 ตัน 25 ราย 50 ลิตร |
2 หมู่บ้าน 20 ตัน 30 ราย 200 ลิตร |
7 หมู่บ้าน 60 ตัน 130 ราย 330 ลิตร |
3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ (ไร่ / ราย)
3.2 โครงการป่าชาวบ้าน (ต้น/ไร่/ราย) |
157 ไร่ 300 ราย
1,000 ต้น 10 ไร่ 5 ราย |
-
- |
157 ไร่ 300 ราย (ปลูกซ้ำที่เดิม) 1,000 ต้น 10 ไร่ 5 ราย |
10 ไร่ 500 ราย
2,500 ต้น 7 ไร่ 5 ราย |
-
1,400 ต้น14 ไร่ 5 ราย |
167 ไร่ 1,100 ราย
5,900 ต้น/ 41 ไร่ 20 ราย |
4. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี
|
1 ครั้ง 100 ราย |
1 ครั้ง 100 ราย |
1 ครั้ง 100 ราย |
1 ครั้ง/ 100 ราย |
1 ครั้ง/ 100 ราย |
5 ครั้ง 500 ราย |
5. สนับสนุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก |
- |
- |
- |
1 แห่ง 1 หมู่บ้าน |
1 แห่ง 1 หมู่บ้าน |
2 แห่ง 2 หมู่บ้าน |
6. กิจกรรมสนับสนุนขุดลอกฝาย |
1 ครั้ง 200 ราย |
- |
- |
1 ครั้ง 300 ราย |
2 ครั้ง 400 ราย |
4 ครั้ง 900 ราย |
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561