ด้าน | สถานการณ์/ปัญหา | แนวทางการพัฒนา | กลยุทธ์ |
---|---|---|---|
1. การพัฒนาอาชีพ |
1. พื้นที่ทำกินส่วนใหญ่ห่างไกลชุมชน และปลูกยางพารา มันสำปะหลัง 2. น้ำที่ใช้ในการเกษตรขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง 3. ความต้องการด้านอาหารมีมาก ไม่เพียงพอกับประชากรของชุมชน 4. แหล่งทำการเกษตร (พื้นที่เช่า) อยู่ห่างไกลชุมชน และแหล่งน้ำ 5. เกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการทำการเกษตร 6. เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน |
1. ส่งเสริมการผลิตพืชและสัตว์ปลอดภัยภายใต้มาตรฐาน GAP และอินทรีย์ 2. พัฒนาและปรับปรุงพืชเดิมเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต 3. นำผลงานวิจัยมาพัฒนา และส่งเสริมการปลูกพืชชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับชุมชน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 4. ส่งเสริมการปลูกพืชท้องถิ่นในระบบปลอดภัยเพื่อเป็นแหล่งอาหารและรายได้ให้ชุมชน 5. สร้างแปลงต้นแบบให้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนและชุมชนใกล้เคียง 6. นำองค์ความรู้โครงการหลวงมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่โดยการปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก เชิงเกษตรและท่องเที่ยว |
1. ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน |
2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน |
1. มีกลุ่มเกษตรกรหลากหลายกลุ่มทั้งภาคการเกษตร และนอกภาคการเกษตร 2. มีแหล่งเงินทุนเงินกู้ดอกเบี้ยแพงในชุมชน 3. ประชากรอาศัยกระจัดกระจาย อพยพย้ายที่อยู่อาศัยบ่อย |
1. ส่งเสริมการจัดแผนชุมชน และการนำเอาไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง 2. สร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มสถาบันเกษตรกรในการบริหารจัดการ 3. สร้างเกษตรกรผู้นำเพื่อเป็นต้นแบบของการเรียนรู้ในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน 4. ส่งเสริมการจัดทำบัญชีฟาร์ม บัญชีครัวเรือน 5. สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ/เตรียมสหกรณ์ 6. พัฒนากลุ่มผู้นำโดยการพลักดันให้เกิดการบริหารจัดการภายในชุมชน 7. การพัฒนาพืชอาหารหลัก เช่น ข้าวนา ข้าวไร่ |
1. เสริมสร้าง ความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้พึ่งตนเอง ได้อย่างยั่งยืน |
3. การพัฒนาด้านการตลาด |
1. มีการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ 2. มีพ่อค้าคนกลางรับซื้อผลผลิต 3. พืชผัก ผลไม้ บางชนิดไม่เพียงพอกับความต้องการ |
1. สร้างช่องทางการตลาดให้มีความหลากหลายในแต่ละระกับ 2. สร้างโรงคัดผลผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดตามแนวทางโครงการหลวง 3. รวบรวมผลผลิตพัฒนาระบบขนส่งและการตคลาดศึกษารูปแบบของตลาดในแต่ละระดับ เช่น ตลาดชายแดน 4. พัฒนาการวิเคราะห์สารในผลผลิต 5. พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด 6. พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการปฏิบัติงานในโรงคัดผลผลิต |
1. ส่งเสริมการสร้างมาตรฐาน คุณภาพผลผลิต และการจัดการด้านการตลาด |
4. การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ |
1. มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 2. มีการยึดพื้นที่ป่าคืน 3. น้ำบริเวณต้นน้ำลดลง |
1. การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และอาหารชุมชน 2. จัดทำแผนที่ดินรายแปลง และการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการเกษตรควบคู่กับการจัดการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ 3. สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และแหล่งน้ำ 4. รณรงค์ลดการใช้สารเคมี และสนับสนุนการตรวจเลือดหาสารพิษตกค้าง 5. ส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้าน 6. สนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน โดยการทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุที่มีในพื้นที่เพื่อลดการเผา 7. ปรับปรุงภูมิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ |
1. ส่งเสริมการทำการเกษตรด้วยวิถีธรรมชาติควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ |
1. พื้นที่ยังขาดน้ำอุปโภค อบริโภคไม่ทั่วถึง 2. ถนนเข้าพื้นที่ทำกินไม่มี และเข้าไม่ถึง |
1. ประสานงานและสนับสนุนการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน 2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 3. พัฒนาเจ้าหน้าที่ให้มีการเปลี่ยนแปลงให้ทันต่อภาวะการในปัจจุบัน 4. พัฒนาระบบกระจายน้ำ และแหล่งน้ำขนาดเล็ก ระบบน้ำบาดาลเพื่ออุปโภค บริโภค 5. การเตรียมภารกิจถ่ายโอนแต่ละชุมชน 6. ปรับปรุงเส้นทางลำเรียงผลผลิต 7. ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่พื้นที่เครือข่ายใกล้เคียง |
1. พัฒนาการมีส่วนร่วมบูรณาการ และการบริหารจัดการ |
ที่มา : แผนกลยุทธ์รายศูนย์ (ปี2560) , สำนักพัฒนา