ปัญหาและแนวทางการพัฒนา

ยุทธศาสตร์ สถานการณ์/ปัญหา แนวทางกลยุทธ์
1. วิจัย

1. ข้าวไร่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ

2. ขาดความอุดมสมบูรณ์ของดิน

3. พบโรค แมลงระบาดเพิ่มมากขึ้นในการปลูกพืช

1. ทำแปลงวิจัย สาธิต การปรับปรุงบำรุงดิน

2. แปลงสาธิตการควบคุมโรค แมลง รวมถึงการใช้สารชีวภัณฑ์

2. การพัฒนาอาชีพ

1. ผลผลิตทางด้านการเกษตรตกต่ำ

2. ขาดตลาดรองรับผลผลิต

3. ขาดการจัดการผลผลิตทางด้านการเกษตร การแปรรูป  การขนส่ง

4. ขาดอาชีพทางเลือก และการรวมกลุ่ม เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง

5. ขาดองค์ความรู้และเทคนิคทางด้านวิชาการ

1. ส่งเสริมการปลูกพืชผักในและนอกโรงเรือนเพื่อจำหน่ายตลาดชุมชน/ตลาดข้อตกลง

2. เพิ่มผลผลิตพืชไร่ (ข้าวไร่ ถั่ว)  เน้นให้มีการปรับปรุงบำรุงดินควบคู่ไปด้วย

3. ปลูกไม้ผลที่มีความเหมาะสม กับสภาพพื้นที่และเน้นการจัดการแปลงเดิม ได้แก่ มะม่วง เงาะ อโวกาโด้ เสาวรส ทดแทนแปลงปลูกพืชไร่

4. ส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์และประมง หมู ไก่ ปลา กบ เพื่อสร้างรายได้เสริม และบริโภค

5. ส่งเสริมการแปรรูปข้าวไร่และงานหัตถกรรมท้องถิ่นและประยุกต์

6. ทุกกิจกรรมจะผลักดันให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP) และผลักดันให้เข้าสู่การจดทะเบียนในรูปแบบกลุ่มต่างๆตามความเหมาะสม

3. สังคมชุมชน

1. ขาดการจัดการด้านภูมิปัญญาและการสืบทอดไปยังคนรุ่นลูกรุ่นหลาน 

2. มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นต่อครัวเรือน

3. มีค่าวัตถุนิยมที่สูงขึ้น

4. มีการศึกษาต่ำกว่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานรองรับ

5. ประชากรบางส่วนออกไปทำงานและค้าขายอยู่นอกชุมชน

1. สนับสนุนการทำแผนชุมชน การทบทวนแผนชุมชนและการขับเคลื่อนการ นำไปใช้ประโยชน์

2. ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มได้แก่กลุ่มไม้ผล กลุ่มปลูกผัก กลุ่มปลูกพืชไร่ ฯลฯ การจัดตั้งกลุ่มและกองทุนเพื่อให้เกษตรกรบริหารจัดการตนเองได้ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเตรียมสหกรณ์  กลุ่มแปรรูป (วิสาหกิจชุมชน)

3. การพัฒนาตลาดผลผลิตในชุมชนและยกระดับในการบริหารจัดการตลาดให้เป็นระบบเพิ่มมากขึ้น 1 พื้นที่เดิม รวมถึงสนับสนุนให้มีตลาดชุมชนอีก 1 พื้นที่และเชื่อมโยงกับเครือข่ายเพื่อหาตลาดภายนอกให้เป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น

4. การพัฒนาหมู่บ้านสะอาดชุมชนเข้มแข็ง

5. สนับสนุนกิจกรรมวัฒนธรรมชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมถึงงานบูรณาการในพื้นที่

4. สิ่งแวดล้อม

1. ชาวบ้านในพื้นที่มีการถางป่าเพื่อทำไร่ ข้าวไร่  ข้าวโพด

2. มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในการเพาะปลูกพืชเพิ่มมากขึ้น

3. เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินทำให้เกิดดินสไลด์คุณภาพของดินลดลง

4. ไมมีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร

5. ขาดการฟื้นฟูป่า และการอนุรักษ์ป่า (ป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน )

6. ขาดการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

7. มีการเผาพื้นที่ก่อนการเพาะปลูกพืช

1. สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ สัก ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น

2. สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก

3. สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม

4. สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย

5. จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา

6. สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน

7. ส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน

5. โครงสร้างพื้นฐาน

1. ขาดหน่วยงานที่จะมาช่วยพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ทางด้านอุปโภค บริโภค และการเกษตรของชุมชน

2. ทางเข้าพื้นที่การเกษตรขาดการพัฒนาและปรับปรุงซ่อมแซม

1. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และ การเกษตร

2. สนับสนุนการสร้างจุดกระจายน้ำขนาดเล็กในแปลงปลูกพืช

6. ตลาด

1. ตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรมีน้อย

2. ขาดการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองการจำหน่ายผลผลิตทางด้านการเกษตร

3. พืชบางชนิดปลูกได้ผลผลิตแต่ขาดตลาดรองรับที่ชัดเจน

1. เน้นการจัดการคุณภาพผลผลิตเพื่อต่อรองในการจำหน่ายและรวมกลุ่มโดยมีระบบกลุ่มในชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการ

2. ยกระดับผลผลิตเข้าสู่มาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP)

 

 

 

ที่มา : แผนกลยุทธ์รายศูนย์ (ปี2560)  , สำนักพัฒนา 



ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2560