ยุทธศาสตร์ | สถานการณ์/ปัญหา | กลยุทธ์ |
1. การวิจัย |
1. เกษตรกรปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ข้าวโพด)มีการเผา และการใช้สารเคมีมาก เกษตรกรยังปลูกพืชหมุนเวียนราคาผลผลิตตกต่ำต้นทุนการผลิตสูง มีการใช้สารเคมีจำนวนมากและไม่ถูกต้อง เกษตรกรยังไม่สามารถผลิตพืชได้ตามความต้องการได้เนื่องจากมีความจำกัดในด้านตลาด |
1. การนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์โดยส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเหลื่อมถั่วนิ้วนางแดงเพื่อลดพื้นที่การเผาและปรับปรุงบำรุงดินโดยเพิ่มเป้าหมายในการส่งเสริม 2. สนับสนุนต่อยอดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ การใช้ชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี |
2. การพัฒนาอาชีพ |
1. ประชาชนส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพด มีรายได้ต่ำและการบุกรุกป่า เผา และใช้สารเคมีมาก 2. มีอาชีพทางเลือกและช่องทางด้านตลาดน้อย |
1. กระจายจำนวนครัวเรือนที่ได้รับการส่งเสริมเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ครอบคลุมทั้ง 7 หมู่บ้าน 2. การลดพื้นที่การเผาจากการปลูกข้าวโพด 1,060 ไร่ โดยการส่งเสริมอาชีพ ดังนี้ 2.1. ส่งเสริมปลูกอาโวคาโด้ เงาะ ลองกอง ทุเรียน มะม่วงหิมมะพานต์ พื้นที่ 230 ไร่ 2.2. ปลูกข้าวโพดเหลื่อมถั่ว 830 ไร่ ขยายหมู่บ้านพื้นที่ดำเนินการให้ครบ 7 หมู่บ้าน 2.3. ส่งเสริมการปลูกผักและเพิ่มจำนวนผู้ได้รับ GAP 70 ราย 3. วางแผนการผลิตผัก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ต่อเนื่อง มีคุณภาพและมาตรฐานการตรวจสอบ 4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการตลาดและการขนส่งในการส่งผลผลิตผ่านโครงการหลวงและตลาดข้อตกลง 5. เพิ่มพื้นที่การส่งเสริมให้ครอบคลุม 7 หมู่บ้าน (ผัก ไม้ผล พืชไร่) พร้อมกับการวางแผนการผลิตและการตลาด |
3. การเสริมสร้างความเข้มแข็ง และการพัฒนาการตลาด |
1. ชุมชนยังพึงพาตนเองได้น้อย หนี้สินมาก 2. ความเข้มแข็งและความร่วมมือในชุมชนมีน้อย 3. กลุ่มและสถาบันเกษตรกรดำเนินการไม่ต่อเนื่อง |
1. ส่งเสริมการขับเคลื่อนแผนชุมชนในการพัฒนาชุมชนโดยการดำเนินการให้ครบ 7 หมู่บ้าน 2. พัฒนาระบบกลุ่มเกษตรกรให้ได้มาตรฐานสหกรณ์จำนวน 7 กลุ่ม 3. พัฒนาเกษตรกรผู้นำให้เป็นแบบอย่างของการพัฒนาเพิ่มขึ้น 50 ราย 4. วางแผนการผลิตพืชให้ได้ตามแผนและมีคุณภาพ เพิ่มชนิดพืชให้หลากหลายทั้งผักและไม้ผล |
4. การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ |
1. การใช้สารเคมีมากจากข้าวโพด พื้นที่เสื่อมโทรมจากการใช้พื้นที่ไม่ถูก 2. ปัญหาขยะในครัวเรือนและชุมชน |
1. การจัดทำขอบเขตที่ดินรายแปลง และกำหนดของเขตพื้นที่ทำกินและพื้นที่ป่าชุมชน ให้ครบทุกชุมชนที่เข้าดำเนินงาน 2. การปลูกแฝกตามแนวระดับร่วมกับแปลงไม้ผล 50 ไร่ 250,000 กล้า 3. ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชุมชนโดยการรณรงค์ปลูกป่าของชุมชนและการกำหนดแนวเขต 7 ชุมชน |
5. โครงสร้างพื้นฐาน |
1. ขาดน้ำทั้งอุปโภคบริโภคและการเกษตร 2. เส้นทางคมนาคมขนส่งลำบาก |
1. เน้นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยกระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชนเพื่อให้ขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ โดยเชื่อมโยงกับ หน่วยงานหรือองค์กรท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง |
6. การบริหารจัดการ |
1.การใช้แผนชุมชนขับเคลื่อนเพื่อของบประมาณจากหน่วยงานบูรณาการให้ได้รับการพัฒนาตามแผนชุมชน ร้อยละ 50 ของกิจกรรม ในชุมชนที่โครงการดำเนินงานและมีการประสานงานติดตามที่ต่อเนื่อง
2.พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ให้เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนงานด้านตลาดและโลจิสติกส์ และการจัดทำฐานข้อมูลและสื่อต่างๆ
|
ที่มา : แผนกลยุทธ์รายศูนย์ (ปี2560) , สำนักพัฒนา