ยุทธศาสตร์ | สถานการณ์/ปัญหา | แนวทาง/เป้าหมายกลยุทธ์ |
1. การวิจัย |
1. ปัญหาของการประกอบอาชีพมีการใช้สารเคมีจำนวนมากและไม่ถูกต้อง ต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรยังปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการใช้สารเคมีปริมาณและมากไม่ถูกต้อง |
1. สนับสนุนต่อยอดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่น การใช้ชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี 1 กลุ่ม 100 ราย 10 ชนิด |
2. การพัฒนาอาชีพ |
1. สภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูงเหมาะสำหรับปลูกพืช ทั้งเมืองร้อนและเมืองหนาว 2. ชุมชนมีความขยันในการทำมาหากิน มีอาชีพการเกษตร เป็นหลัก 3. ชุมชนมีการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆได้อย่างรวดเร็ว 4. ชุมชนให้ความร่วมมือในด้านการทำงานร่วมกับโครงการเป็นอย่างดี 5. เกษตรกรมีความตั้งใจในการศึกษาเรียนรู้ และยอมรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆในการทำการเกษตร |
1. ลดพื้นที่ข้าวโพด ขยายหมู่บ้านพื้นที่ดำเนินการ โดยส่งเสริมปลูกพืชสร้างรายได้ระยะสั้นระยะปานกลางภายใต้ระบบการปลูกเป็นมิตรต่อส่งแวดล้อมพืชผักในโรงเรือน (GAP) ส่งเสริมปลูกพืชสร้างรายได้ระยะยาว 2. กระจายจำนวนครัวเรือนที่ได้รับการส่งเสริมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5 รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 3. เพิ่มเกษตรได้รับมาตรฐาน GAP 100 ราย 10 ชนิด และไม่พบสารตกค้างในผลผลิต 4. มีสถาบันเกษตรที่สามารถขับเคลื่อนครอบคลุมพื้นที่ 8 หมู่บ้าน 5. พัฒนาเกษตรกรตัวอย่างเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ชุมชน 30 ราย 30 ฟาร์ม 6. พัฒนาคุณภาพผลผลิตจัดการด้วยกลุ่มเกษตรกร 1 กลุ่ม |
3. สังคมชุมชน |
1. คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมประเพณีน้อยลง 2. มีผู้นำและคณะกรรมการชุมชนเข้มแข็งมีความเชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่และองค์กรเป็นอย่างดี 3. มีค่าวัตถุนิยมที่สูงขึ้น 4. การกระจายส่งเสริม/สนับสนุนแก่เกษตรยังไม่ทั่วถึง 5. มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในการเพาะปลูกพืชเพิ่มมากขึ้น 6. เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินทำให้เกิดดินสไลด์คุณภาพดินลดลง 7. ไม่มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าและพื้นที่การเกษตร 8. มีการเผาพื้นที่ก่อนการเพาะปลูกพืชการปลูกข้าวโพด |
1. สนับสนุนการทำแผนชุมชน การทบทวนแผนชุมชนและการขับเคลื่อนสู่การสนับสนุนและการนำไปใช้ 80% ทั้งหมด 93 โครงการ 2. ส่งเสริมให้มีรวมกลุ่มได้แก่กลุ่มไม้ผล กลุ่มปลูกผัก กลุ่มปลูกพืชไร่ ฯลฯ การจัดตั้งกลุ่มและกองทุนเพื่อให้เกษตรกรบริหารจัดการตนเอง 4 กลุ่ม และพัฒนาสหกรณ์ ให้อยู่ในระดับ A 3. การกระจายส่งเสริม/สนับสนุนแก่เกษตรอย่างครอบคลุม 8 หมู่บ้าน 4. การพัฒนาเกษตรกรไปสู่เกษตรกรผู้นำ 30 ราย 5. สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ สัก ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น 200 ไร่ 6. สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก 200,000 กล้า 7. สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม 7 หมู่บ้าน การฟื้นฟูป่า 300 ไร่ 8. สนับสนุนให้มีการจัดทำฝายร่วมกับชุมชนและหน่วยงานอื่น 9. จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา ปริมาณสารพิษตกค้างในกระแสเลือดลดลงร้องละ 25 10. สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน 11. จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ 1,000 ไร่ 12. ส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 5 หมู่บ้าน |
4. การบริหารจัดการ |
1. ทางเข้าพื้นที่การเกษตรขาดการพัฒนาและปรับปรุงซ่อมแซม 1.1 มีแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่ 1.2 มีแผนชุมชนที่บรรจุความต้องการของชุมชน 2. ตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่ชัดเจน 3. ขาดการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองการจำหน่ายผลผลิตทางด้านการเกษตร 4. มีหน่วยงานที่เป็นคณะทำงานให้ความร่วมมือในการทำงานในพื้นที่ |
1. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 8 แห่ง 2. สนับสนุนการสร้างจุดกระจายน้ำขนาดเล็กในแปลงปลูกพืช 15 แห่ง 3. สร้างอาคารจำหน่ายสินค้าสหกรณ์จัดจ้างเจ้าหน้าที่ 1 แห่ง (สหกรณ์จังหวัด) 4. ปรับปรุงถนนเข้าพื้นที่ทำการเกษตร (พัฒนาที่ดิน) 5. วางแผนในการคัดเลือกเกษตรกรผู้นำในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมีแปลงสาธิตที่เป็นแบบอย่างที่ดี 6. เตรียมถ่ายโอนงานบางกิจกรรมให้แก่ชุมชนหรือหน่วยงานในท้องถิ่น |
ที่มา : แผนกลยุทธ์รายศูนย์ (ปี2560) , สำนักพัฒนา