โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงน้ำแขว่ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 62 คิดเป็นร้อยละ 96.97 เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินระดับปานกลางรุนแรงมากสำหรับพื้นที่สูง คิดเป็นร้อยละ 34.64 ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนใหญ่เป็นหินทราย หินทรายปนเถ้าภูเขาไฟ หินดินดาน บางแห่งหินถูกแปรสภาพเป็นฟิลไลต์
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแขว่ง
คลิกเพื่อขยาย |
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแขว่งมีลำน้ำในพื้นที่ได้แก่ ห้วยน้ำลี ห้วยนางกวัก ห้วยน้ำควาย ห้วยน้ำอูน และห้วยห้าน ห้วยน้ำแขว่ง มีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแขว่งส่วนใหญ่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A คิดเป็นร้อยละ 65.25 รองลงมาเป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 คิดเป็นร้อยละ 24.10 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 คิดเป็นร้อยละ 6.07 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 ร้อยละ 4.57 ของพื้นที่
คลิกเพื่อขยาย |
คลิกเพื่อขยาย |
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงมีพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ 24,153.95 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53.61 และอยู่ในพื้นที่พื้นที่เตรียมการฯอุทยานแห่งชาติขุนสถาน 20,904.22 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.39 ของพื้นที่โครงการ
ตาราง พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงน้ำแขว่ง
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่เตรียมการฯอุทยานแห่งชาติขุนสถาน |
33.45 |
20,904.22 |
46.39 |
ป่าฝั่งขวาแม่น้ำน่านตอนใต้ |
38.65 |
24,153.95 |
53.61 |
รวม |
72.09 |
45,058.17 |
100.00 |
การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวง มีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 92.14 ดังตาราง
ตาราง การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง น้ำแขว่ง
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่เกษตรกรรม (โซน A) |
1.04 |
650.93 |
1.44 |
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
66.43 |
41,517.52 |
92.14 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
1.86 |
1,163.55 |
2.58 |
นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
2.76 |
1,726.18 |
3.83 |
รวม |
72.09 |
45,058.17 |
100.00 |
คลิกเพื่อขยาย |
คลิกเพื่อขยาย |
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน
ยุทธศาสตร์ |
2555 |
2556 |
2557 |
2558 |
2559 |
1.1 ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 1. การปลูกป่าชาวบ้าน(ราย/ไร่) 2. การปลูกแฝก (ราย/ไร่) 3. การฟื้นฟูป่าชุมชน(ราย/ไร่) 4. การจัดทำฝาย(ราย/แห่ง) 5. การลดใช้สารเคมี(ราย) 6. แนวกันไฟ (ราย/กม.) 7. พัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก 8. ปุ๋ยหมัก 1.2 ปรับระบบเกษตรและการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม 1. จัดทำที่ดินรายแปลง 2. ลดการบุกรุกป่า |
10 ราย 5 ไร่ 60 ราย 7 ไร่ 22 ราย 36 ไร่ 116 ราย 9 ลูก 121 ราย - - -
|
23 ราย 11 ไร่ - 173 ราย 364 ไร่ 153 ราย 39 ลูก 151 ราย 72 ราย 22 กม. - - |
22 ราย 50 ไร่ 5 ราย 2 ไร่ - 53 ราย 5 ลูก - 50 ราย 4 กม. 1 แห่ง 15 ตัน 5 ราย
2 แห่ง - |
35 ราย 55 ไร่ 1 ราย 1 ไร่ - 60 ราย 6 ลูก - - 1 แห่ง 10 ตัน 5 ราย
- - |
5 ราย 5 ไร่ 2 ราย 2 ไร่ 75 ไร่ 5 ราย 5 ลูก 23 ราย - - 5 ตัน 3 ราย |
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561