ทรัพยากรดิน

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงห้วยน้ำขาว มีส่วนใหญ่ลักษณะเป็นที่ลาดชันเชิงซ้อนประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงวาวี ส่วนใหญ่ มีระดับการชะล้างพังทลายของดินบนพื้นที่ที่สูงระดับน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 31.74  ลักษณะทางธรณีวิทยาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินทรายแป้ง หินทราย สีน้ำตาลแดง เนื้อปูนปน หินเคลย์และหินกรวดมน; ยุคครีเทเชียส

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


ทรัพยากรน้ำ

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยน้ำขาว มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำซึ่งมีลักษณะทั่วไปมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองลงมาและสามารถใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมที่สำคัญได้ คิดเป็นร้อยละ 46.6 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาเป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A เป็นพื้นที่ยังคงสภาพป่าสมบูรณ์ จำเป็นจะต้องสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และ เป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ และห้ามมิให้มีกิจกรรมของมนุษย์ในพื้นที่ดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 21.8 ของพื้นที่ทั้งหมด และยังมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำอื่นๆ ได้แก่ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B  และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 ตามลำดับ

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยน้ำขาว อยู่ในพื้นที่ลุ่มน่าน ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำวังทอง มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ คือ ห้วยเข็กน้อย ซึ่งประกอบด้วยลำน้ำสาขา ได้แก่ ห้วยน้ำจาง ห้วยตัวโค้ง ห้วยออลอ และห้วยเชิมน้อย

 


คลิกเพื่อขยาย

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


พื้นที่ป่า

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยน้ำขาว มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ 58,926.92 ไร่ (ร้อยละ 73.74) รองลงมาอยู่ในเขตทุ่งแสลงหลวง 12,182.63  ไร่ (ร้อยละ 15.25)  พื้นที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า 8,182.75 ไร่ (ร้อยละ 10.24) และพื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ 615.11 ไร่ (ร้อยละ 0.77) ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยน้ำขาว

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

พื้นที่เตรียมการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ

0.98

615.11

0.77

ทุ่งแสลงหลวง

19.49

12,182.63

15.25

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า

13.09

8,182.75

10.24

นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์

94.28

58,926.92

73.74

รวม

127.85

79,907.40

100.00

 

 


คลิกเพื่อขยาย

 

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2560