โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงวาวี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินกลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 99.4 รองลงมาเป็นกลุ่มชุดดินที่ 60B ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 0.4 กลุ่มชุดดินที่ 46D ร้อยละ 0.1 และกลุ่มชุดดินที่ 47C 0.1 ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินในระดับรุนแรงมากสำหรับพื้นที่สูง คิดเป็นร้อยละ 46.20 ลักษณะทางธรณีวิทยาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินฟิลไลต์ หินดินดานเนื้อปนถ่าน หินทรายถูกแปรสภาพบ้าง
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A เป็นพื้นที่ยังคงสภาพป่าสมบูรณ์ จำเป็นจะต้องสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และ เป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ และห้ามมิให้มีกิจกรรมของมนุษย์ในพื้นที่ดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 53.4 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาเป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำซึ่งมีลักษณะทั่วไปมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองลงมาและสามารถใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมที่สำคัญได้ คิดเป็นร้อยละ 20.4 ของพื้นที่ทั้งหมด และยังมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำอื่นๆ ได้แก่ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 5 ตามลำดับ
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่สรวย ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำกก มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ คือ น้ำแม่สรวย ซึ่งประกอบด้วยลำน้ำสาขา ได้แก่ ห้วยแม่สรวยน้อย ห้วยแม่โมง น้ำห้วยวาวี น้ำห้วยกล้า ห้วยขี้เหล็ก ห้วยเหล็กจาน และห้วยโป่งสะลำ
คลิกเพื่อขยาย
|
คลิกเพื่อขยาย
|
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาฝั่งซ้าย 153,903.90 ไร่ (ร้อยละ 53.29) รองลงมาอยู่นอกเขตเตรียมการอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก 129,902.85 ไร่ (ร้อยละ 44.98) พื้นที่วนอุทยาน 2,784.68 ไร่ (ร้อยละ 0.96) และพื้นที่นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ 2,221.92 ไร่ (ร้อยละ 0.77) ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1) และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 98.84 พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) ร้อยละ 0.77 และพื้นที่บางส่วนอยู่ในพื้นที่นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ร้อยละ 0.39 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
วนอุทยาน |
4.46 |
2,784.68 |
0.96 |
ชาพันปี |
1.07 |
666.74 |
0.23 |
น้ำตกห้วยน้ำอุ่น |
1.08 |
672.96 |
0.23 |
ภูชมดาว |
2.31 |
1,444.98 |
0.50 |
เตรียมการอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก |
207.84 |
129,902.85 |
44.98 |
ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาฝั่งซ้าย |
246.25 |
153,903.90 |
53.29 |
นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ |
3.56 |
2,221.92 |
0.77 |
รวม |
462.10 |
288,813.05 |
100.00 |
ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวาวี
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
456.76 |
285,473.21 |
98.84 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
3.56 |
2,227.77 |
0.77 |
นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
1.78 |
1,112.07 |
0.39 |
รวม |
462.10 |
288,813.05 |
100.00 |
|
|
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
มุ่งเน้นการจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลง โดยมีการจัดทำใน 9 หมู่บ้าน 1,241 แปลงครอบคลุมพื้นที่ จำนวน 13,949 ไร่ ของเกษตรกร 688 ครัวเรือน เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลของชุมชนและแผนชุมชน ในการวางแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ของสถาบัน อันได้แก่ ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งน้ำ ด้านการพัฒนาส่งเสริมอาชีพ ด้านการผลิตและการตลาด และการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนบนพื้นที่สูงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นสังคมที่มีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนบนพื้นที่สูง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง สร้างจิตสำนึก และความตระหนักถึงคุณค่า หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา |
พ.ศ. 2555 |
พ.ศ. 2558 |
พ.ศ. 2559 |
|||
จำนวน |
ผู้เข้าร่วม |
จำนวน |
ผู้เข้าร่วม |
จำนวน |
ผู้เข้าร่วม |
|
1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำ |
|
|
|
|
|
|
- การปลูกหญ้าแฝก (กล้า/คน) |
128,000 |
250 |
80,000 |
20 |
100,000 |
176 |
- ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ (ไร่/คน) |
300 |
20 |
350 |
20 |
350 |
16 |
2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน |
|
|
|
|
|
|
- การผลิตปุ๋ยหมัก (ตัน/คน) |
- |
- |
20 |
50 |
50 |
100 |
3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร |
|
|
|
|
|
|
3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ |
|
|
|
|
|
|
- บำรุงรักษาพื้นที่เดิม (ไร่/คน) |
150 |
200 |
100 |
50 |
100 |
50 |
- พื้นที่ปลูกใหม่ (ไร่/คน) |
|
|
|
|
7.75 |
64 |
- การสร้างฝาย (ฝาย/คน) |
8 |
46 |
20 |
100 |
10 |
100 |
3.2 โครงการป่าชาวบ้าน |
|
|
|
|
|
|
- บำรุงรักษาพื้นที่เดิม |
- |
- |
77 |
45 |
77 |
45 |
- พื้นที่ปลูกใหม่ |
43 |
82 |
|
|
12 |
46 |
4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า (กม./คน) |
58 |
227 |
30 |
400 |
30 |
300 |
5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี เกษตรกรได้รับการอบรม (ครั้ง/คน) |
- |
- |
3 |
120 |
3 |
181 |
6. ปรับระบบเกษตรและการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม |
|
|
|
|
|
|
- จัดทำที่ดินรายแปลง (หมู่บ้าน/แปลง/ไร่ /คน) |
- |
- |
3/271/ 2,854 |
124 |
3/493/ 5,390 |
249 |
- จัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็ก |
- |
- |
1 |
32 |
4 |
120 |
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561