โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงบ่อเกลือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินกลุ่มชุดดินที่ 62 มากถึงร้อยละ 99.6 เป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ รองลงมาอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 48E/56E และกลุ่มชุดดินที่ 30E ตามลำดับ พื้นที่ส่วนใหญ่ มีระดับการชะล้างพังทลายของดินระดับน้อยมากสำหรับพื้นที่สูง ร้อยละ 67 ลักษณะทางธรณีวิทยาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินกรวดมน หินทราย หินทรายแป้งและหินดินดาน สีน้ำตาลแดง สีเทาเขียว
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A เป็นพื้นที่ยังคงสภาพป่าสมบูรณ์ที่ปรากฏอยู่ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งจำเป็นจะต้องสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และ เป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ และห้ามมิให้มีกิจกรรมของมนุษย์ในพื้นที่ดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 85.7รองลงมาเป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำซึ่งมีลักษณะทั่วไปมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองลงมาและสามารถใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมที่สำคัญได้ คิดเป็นร้อยละ 10.6 รองลงมาอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B ตามลำดับ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำสาขาน้ำว้า ลุ่มน้ำย่อยน้ำว้า 9 ทั้งหมด และมีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ น้ำว้า น้ำจูน และน้ำปาด
คลิกเพื่อขยาย |
คลิกเพื่อขยาย |
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา 39,067.88 ไร่ (ร้อยละ 47.92) รองลงมาอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคา, ป่าผาแดง 24,102.00 ไร่ (ร้อยละ 29.56) ดังตารางที่ 1 และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 72.90 และพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) ร้อยละ 18.92 และพื้นที่นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ร้อยละ 8.18 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคา, ป่าผาแดง |
38.56 |
24,102.00 |
29.56 |
อุทยานแห่งชาติขุนน่าน |
13.81 |
8,633.26 |
10.59 |
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา |
62.51 |
39,067.88 |
47.92 |
นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ |
15.56 |
9,723.25 |
11.93 |
รวม |
130.44 |
81,526.43 |
100.00 |
ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
104.05 |
65,030.31 |
72.90 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
27.00 |
16,876.90 |
18.92 |
นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
11.68 |
7,298.72 |
8.18 |
รวม |
130.44 |
81,526.43 |
100.00 |
|
|
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
ยุทธศาสตร์ |
2555 |
2556 |
2557 |
2558 |
2559 |
1.1 ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 1. การปลูกป่าชาวบ้าน (ไร่/ราย) 2. การปลูกแฝก (ไร่/ราย) 3. การปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศต้นน้ำ 4. การฟื้นฟูป่าชุมชน (ไร่/ราย) 5. การจัดทำฝาย (ชลอน้ำ) 6. การลดใช้สารเคมี () 7. ลดการเผา (ไร่) 8. การทำแนวกันไฟป่าชุมชน (ไร่/ราย) 9. แหล่งน้ำขนาดเล็ก 10.สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในการดูแลรักษาป่าโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มชุมชน(PES) 1.2 ปรับระบบเกษตรและการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม 1. จัดทำที่ดินรายแปลง 2. ลดการบุกรุกป่า |
7 ไร่ 10 ราย 5 ไร่ 10 ราย
2 แห่ง
2 ครั้ง 8 กม |
10 ไร่ 10 ราย 20 ไร่
2 แห่ง
2 ครั้ง 8 กม
2 พื้นที่ |
10 ไร่ 30,000 กล้า 5 คน
100 ไร่ 20 แห่ง
3 ครั้ง 11 กม
|
5 ไร่ 15 คน 30,000 กล้า 5 คน
2 แห่ง
3 ครั้ง 11 กม
1 แห่ง |
54 ราย 935 ต้น 30,000 กล้า 5 คน
1 แห่ง
1 แห่ง 125 ไร่
2 พื้นที่
|
สรุปผลการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดำเนินงานในสองกิจกรรมหลัก คือ การส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปลูกป่าชาวบ้าน หญ้าแฝก การปลูกฟื้นฟูและดูแลป่าชุมชน การจัดทำแนวกันไฟป่า การก่อสร้างฝายชะลอน้ำและการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กพร้อมระบบกระจายน้ำ การรณรงค์การลดการใช้สารเคมี และการผลิตปุ๋ยหมักใช้เอง กิจกรรมที่สอง คือ การปรับระบบการเกษตรและการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม โดยการสำรวจขอบเขตและการจัดทำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลง
แนวทางการดำเนินงาน คือ เน้นการขยายการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินงานให้ได้มากที่สุด โดยการกำหนดเป็นแผนงานขั้นต่ำในแต่ละปีงบประมาณ โดยเฉพาะในเรื่องของการนำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินรายแปลง และแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน มาใช้ประกอบการตัดสินใจทำการผลิตต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกร
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561