ทรัพยากรดิน

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงปางยางมีหน่วยแผนที่ดินซึ่งเป็นกลุ่มดินกว้าง ๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินกลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ คิดเป็นร้อยละ 90.4 รองลงมาเป็นกลุ่มชุดดินที่ 29C เป็นเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินมีสีน้ำตาลเหลือง หรือแดง เกิดจากวัตถุต้นกำเนิด ดินพวกตะกอนลำน้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ตาม   ธรรมชาติค่อนข้างต่ำ pH ประมาณ 4.5-5.5 คิดเป็นร้อยละ 3.1 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรงสำหรับพื้นที่สูง ร้อยละ 32.14 ลักษณะทางธรณีวิทยาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินกรวดมน หินทราย หินทรายแป้งและหินดินดาน สีน้ำตาลแดง สีเทาเขียว

 

แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางยาง


คลิกเพื่อขยาย

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


ทรัพยากรน้ำ

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางยาง มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A เป็นพื้นที่ยังคงสภาพป่าสมบูรณ์ที่ปรากฏอยู่ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งจำเป็นจะต้องสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และ เป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ และห้ามมิให้มีกิจกรรมของมนุษย์ในพื้นที่ดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 79.9 รองลงมาเป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 5 เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำซึ่งเป็นที่ราบหรือลุ่ม หรือเนินลาดเอียงเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่ป่าได้ถูกบุกรุกแผ้วถาง เพื่อใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะทำนา และกิจการอื่น คิดเป็นร้อยละ 9.9 และยังมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำอื่นๆ ได้แก่ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางยาง อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำน่านตอนบน ลุ่มน้ำย่อยน้ำปัว มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ น้ำคูณ และน้ำขว้าง

 


คลิกเพื่อขยาย


คลิกเพื่อขยาย
 
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


พื้นที่ป่า

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางยาง มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา 48,602.95 ไร่ (ร้อยละ 49.57) รองลงมาอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคา, ป่าผาแดง 38,472.96 ไร่ (ร้อยละ 39.24)  และพื้นที่นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ 10,974.94 ไร่ (ร้อยละ 11.19) ตามลำดับ ดังตารางที่ 1 และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 81.63 และพื้นที่นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ ร้อยละ 16.66 และพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ  (โซน E) ร้อยละ 1.72 ดังตารางที่ 2 

ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางยาง

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยภูคา, ป่าผาแดง

61.56

38,472.69

39.24

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

77.76

48,602.95

49.57

นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์

17.56

10,974.94

11.19

รวม

156.88

98,050.58

100.00

 

ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงปางยาง

การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

พื้นที่

ร้อยละ

ตารางกิโลเมตร

ไร่

พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C)

128.06

80,034.80

81.63

พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E)

2.69

1,681.96

1.72

นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ

26.13

16,333.81

16.66

รวม

156.88

98,050.58

100.00

คลิกเพื่อขยาย

คลิกเพื่อขยาย
 
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

           สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ จันทองเทศ การบูร ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริม สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย จัดกิจกรรมรณรงค์ลดใช้สารเคมีและลดการเผา สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน

กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา

พ.ศ. 2555

พ.ศ. 2558

พ.ศ. 2559

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

หน่วยนับ

ผู้เข้าร่วม

1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก

2,000 กล้า

5 ราย

30,000

10 ราย

40,000

15 ราย

2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน

    - การผลิตปุ๋ยหมัก

    - ปุ๋ยพืชสด

    - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ

1 หมู่บ้าน

8 ตัน

 

 

22 ราย

 

2 หมู่บ้าน

20 ตัน

32 ราย

 

 

1 หมู่บ้าน

22 ตัน

33 ราย

3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร

  3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน

    - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม

    - พื้นที่ปลูกใหม่

1 ครั้ง 28 ไร่

 

 

 

30 ราย 60 ไร่

1 หมู่บ้าน

 

 

 

1 หมู่บ้าน

3 ครั้ง 120 ไร่

 

 

 

25 ราย 50  ไร่

2 หมู่บ้าน

 

 

 

3 หมู่บ้าน

1 ครั้ง 15 ไร่

 

 

 

40 ราย 90 ไร่

1 หมู่บ้าน

 

 

 

3 หมู่บ้าน

4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า

1 กลุ่ม 10 กิโลเมตร

127  ราย

2 ครั้ง 20 กิโลเมตร

114 ราย

2 ครั้ง 25กิโลเมตร

121 ราย

5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี

   เกษตรกรได้รับการอบรม

 

 

 

 

1 หมู่บ้าน

 ครัวเรือน

6. สนับสนุนแหล่งน้ำขนาดเล็ก

 

 

1 แห่ง

1 หมู่บ้าน

1 แห่ง

1 หมู่บ้าน

7. การจัดทำฝาย

 

 

 

 

1 แห่ง

1 พื้นที่

8. ลดการเผา (กี่หมู่บ้านกี่ชุมชน) 

 

 

550 ไร่

3 พื้นที่

1,200 ไร่

3 พื้นที่

 

ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561