ทรัพยากรดิน

กลุ่มชุดดิน 

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงดอยปุย  เป็นกลุ่มชุดดินที่ 62 ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์

 

 

 
 
หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


ทรัพยากรน้ำ

 แหล่งน้ำผิวดิน

          โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงดอยปุย  มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญคือห้วยแม่นาป่านมีต้นกำเนิดมาจากดอยป่าคา ดอยปุย ทางทิศเหนือของพื้นที่ มีทิศการไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ก่อนไหลลงสู่ห้วยแม่นาไทร และมีชั้นคุณภาพลุ่มน้ำโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงดอยปุย ส่วนใหญ่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A คิดเป็นร้อยละ 43.91 รองลงมาเป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ1B ร้อยละ 23.90 ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 ร้อยละ 23.12และ ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 ร้อยละ 9.07 ของพื้นที่ 

 

 
 

คลิกเพื่อขยาย

คลิกเพื่อขยาย

 

 

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


พื้นที่ป่า

พื้นที่ป่าอนุรักษ์

            โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงดอยปุย มีพื้นที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย  ทั้งหมด

 

แผนที่ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงดอยปุย

การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

            โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงดอยปุย มีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) ทั้งหมด

 

แผนที่ การจำแนกการใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงดอยปุย

 

 

 

 

หากสนใจข้อมูลที่ดินรายแปลงติดต่อศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สำนักยุทธศาสตร์และแผน
เบอร์โทร : 053-328496-8 ต่อ 1212 หรือ https://gianalytics.hrdi.or.th/

ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน


การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

         การกำหนดเขตพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ทำกินและควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นไปตามหลักวิชาการและศักยภาพของพื้นที่ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน ปรับระบบการ ใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม วิจัยและส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม รวมถึงการปลูกป่าชาวบ้าน การฟื้นฟูต้นน้ำลำธาร การฟื้นฟูแหล่งอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนพืชท้องถิ่นและการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อใช้ทรัพยากรดินและน้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่าโดยสนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก และการจัดทำแนวกันไฟโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน

กิจกรรม

2555

2556

2557

2558

2559

รวม

1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก (ราย/ กล้า)

   - ปลูกในพื้นที่ทำกินของเกษตรกร

30,000 กล้า

3 ราย

30,000 กล้า

3 ราย

30,000 กล้า

2 ราย

30,000 กล้า

3 ราย

30,000 กล้า

1 ราย

150,000 กล้า

11 ราย

2. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร

  2.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ

    (ปลูกกล้วยไม้)

2 ไร่

2,000 ต้น

2 ไร่

2,000 ต้น

2 ไร่

3,000 ต้น

5 ไร่

5,000 ต้น

2 ไร่

3,000 ต้น

13 ไร่

15,000 ต้น

3. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า (กม.)

20 กิโลเมตร

20 กิโลเมตร

20 กิโลเมตร

20 กิโลเมตร

20 กิโลเมตร

100 กม.

 

ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2560