โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโรงการหลวงสบโขง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินกลุ่มชุดดินที่ 62 มากถึงร้อยละ 89.78 เป็นพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาที่มีความลาดชันมากกว่า 35 % เป็นดินลึกและตื้น ลักษณะดินและความอุดมสมบูรณ์แตกต่างกันตามแต่ชนิดของหินต้นกำเนิด มีเศษหินก้อนหินหรือหินพื้นโผล่ ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ต่างๆ มักมีการทำไร่เลื่อนลอยที่ขาดการอนุรักษ์ รองลงมาอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 47D กลุ่มชุดดินที่ 7 และกลุ่มชุดดินที่ 47E ตามลำดับ และพื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับการชะล้างพังทลายของดินระดับน้อยสำหรับพื้นที่สูง คิดเป็นร้อยละ 83.87 ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต แกรโนไดโอไรต์ ผลึกขนาดใหญ่และผลึกสองขนาด; ยุคไทรแอสซิก
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบโขง
ที่มา: สำนักพัฒนา, สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบโขงมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A พื้นที่ยังคงสภาพป่าสมบูรณ์ที่ปรากฏอยู่ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งจำเป็นจะต้องสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร และ เป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 63.8 รองลงมาเป็นชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 พื้นที่ภายในลุ่มน้ำซึ่งมีลักษณะทั่วไปมีคุณภาพเหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ำลำธารในระดับรองลงมาและสามารถใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมที่สำคัญได้ คิดเป็นร้อยละ 17.6 รองลงมาอยู่ในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1B ตามลำดับ อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยลุ่มน้ำแม่หลอง ลุ่มน้ำสาขาน้ำแม่เงา ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำสาละวิน มีแหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญในพื้นที่ ได้แก่ น้ำแม่หลองหลวงเป็นแม่น้ำสายหลัก และยังมีลำห้วยสาขาสายสั้นๆไหลมารวมกับน้ำแม่หลองอีกหลายสายโดยลำห้วยสาขาที่สำคัญคือ ห้วยแม่หลองน้อย น้ำตะกอและห้วยม่อโกร จากนั้นน้ำแม่หลองก็ไหลไปรวมกับแม่น้ำน้ำแม่เงา
คลิกเพื่อขยาย
|
คลิกเพื่อขยาย
|
ที่มา: สำนักพัฒนา, สำนักยุทธศาสตร์และแผน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบโขง มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ 33,274.39 ไร่ (ร้อยละ 86.25) และพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าอมก๋อย 5,302.65 ไร่ (ร้อยละ 13.75) ดังตารางที่ 1 และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 81.70 พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) ร้อยละ 17.60 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1 พื้นที่ป่าอนุรักษ์โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบโขง
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
ป่าสงวนแห่งชาติป่าอมก๋อย |
8.48 |
5,302.65 |
13.75 |
นอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ |
53.24 |
33,274.39 |
86.25 |
รวม |
61.72 |
38,577.05 |
100.00 |
ตารางที่ 2 การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง สบโขง
การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
พื้นที่ |
ร้อยละ |
|
ตารางกิโลเมตร |
ไร่ |
||
พื้นที่เกษตรกรรม (โซน A) |
- |
- |
- |
พื้นที่อนุรักษ์ (โซน C) |
54.37 |
33,981.13 |
88.09 |
พื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E) |
7.35 |
4,595.92 |
11.91 |
นอกขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติ |
- |
- |
- |
รวม |
61.72 |
38,577.05 |
100.00 |
|
|
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
สนับสนุนการปลูกป่าชาวบ้าน ได้แก่ ไผ่ ไม้ใช้สอย และไม้ท้องถิ่น สนับสนุนการปลูกหญ้าแฝก สนับสนุนการฟื้นฟูป่าชุมชนและปลูกเสริมในแปลงเก่า สนับสนุนให้มีการจัดทำฝาย จัดกิจกรรมรณรงค์ลดการใช้สารเคมี สนับสนุนการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และส่งเสริมการจัดทำแผนที่ดินรายแปลงและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน/หน่วยงาน
กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา |
พ.ศ. 2555 |
พ.ศ. 2558 |
พ.ศ. 2559 |
|||
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
|
1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก |
30,000 กล้า |
80 ราย |
50,000 กล้า |
80 ราย |
- |
- |
2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน - การผลิตปุ๋ยหมัก - ปุ๋ยพืชสด - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ |
- - - |
- - - |
2 กลุ่มบ้าน 30 ตัน - - |
30 ราย - - |
2 กลุ่มบ้าน 30 ตัน - - |
30 ราย - - |
3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม - พื้นที่ปลูกใหม่ 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม - พื้นที่ปลูกใหม่ |
- -
- - |
- -
- - |
1 ครั้ง 10 ไร่ - 1 ครั้ง 10 ไร่ 1200 ต้น |
1กลุ่มบ้าน
1กลุ่มบ้าน
1กลุ่มบ้าน |
1 ครั้ง 10 ไร่ 1,000 ต้น 5 ไร่ 1,000 ต้น |
1 กลุ่มบ้าน 1 กลุ่มบ้าน 1 กลุ่มบ้าน
|
4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า |
1 ครั้ง 10 กิโลเมตร |
80 ราย |
2 ครั้ง 25 กิโลเมตร |
160 ราย |
3 ครั้ง 30 กิโลเมตร |
240 ราย |
5.ฝายชะลอน้ำ |
- |
- |
10 แห่ง |
2 กลุ่มบ้าน |
15 แห่ง |
3 กลุ่มบ้าน |
6. สนับสุนนแหล่งน้ำขนาดเล็ก |
|
|
3 แห่ง |
2 กลุ่มบ้าน |
6 แห่ง |
4 กลุ่มบ้าน |
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2561