กลุ่มชุดดิน
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม มีลักษณะดินลุ่มน้ำมวบ มีการจำแนกพื้นที่ตามกลุ่มชุดดินหลัก ๆ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 3, 6, 33, 59 และ 62 กลุ่มชุดดินที่พบมากที่สุดคือ กลุ่มชุดดินที่ 62 คิดเป็นร้อยละ 84 ของกลุ่มชุดดินทั้งหมด ดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 % ดินที่พบในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจาย
แผนที่กลุ่มดิน โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม ส่วนใหญ่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 คิดเป็นร้อยละ 40.95 รองลงมาเป็นพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 คิดเป็นร้อยละ 36.13ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A คิดเป็นร้อยละ 20.79 และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 ร้อยละ 2.13
คลิกเพื่อขยาย |
คลิกเพื่อขยาย |
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
พื้นที่ป่าอนุรักษ์
โครงการพัฒนาพื้นที่สูงตามแบบโครงการหลวงแม่จริมมีพื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออกตอนใต้ 40,082.44 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53.81 อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา 31,336.01ไร่ คิดเป็นร้อยละ 42.06 ของพื้นที่โครงการ และมีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน C) คิดเป็นร้อยละ 82.41 พื้นที่เกษตรกรรม (โซน E) ร้อยละ 9.81
คลิกเพื่อขยาย |
คลิกเพื่อขยาย |
ที่มา: สำนักพัฒนา,สำนักยุทธศาสตร์และแผน
ส่งเสริมชุมชนให้มีส่วนร่วมการนำแผนที่ดินรายแปลงของเกษตรกร 6 หมู่บ้านนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมอาชีพและการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินกิจกรรมปลูกป่าชาวบ้าน 127.75 ไร่ 79 ราย ดูแลป่าแปลงเดิม 50 ไร่ 23 ราย ปลูกหญ้าแฝก 30,000 ต้น ปลูกไม้ในระบบวนเกษตร 1 ราย 1,800 ต้น กิจกรรมแปลงปรับระบบการเกษตรนำร่องเพื่อเป็นแปลงตัวอย่าง 16 แปลง 16 ราย กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติดำเนินการสร้างฝายชะลอน้ำ 3 หมู่บ้าน 18 จุด แนวกันไฟ 3 หมู่บ้าน 25 กิโลเมตร ทำปุ๋ยหมัก 10 ตัน
กิจกรรมฟื้นฟูและพัฒนา |
พ.ศ. 2555 |
พ.ศ. 2558 |
พ.ศ. 2559 |
|||
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
หน่วยนับ |
ผู้เข้าร่วม |
|
1. งานอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยการปลูกหญ้าแฝก |
30,000 กล้า |
10 ราย |
30,000 กล้า |
5 ราย |
30,000 กล้า |
5 ราย |
2. งานฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน - การผลิตปุ๋ยหมัก - ปุ๋ยพืชสด - ปุ๋ยน้ำชีวภาพ |
3 ตัน |
15 ราย |
5 ตัน |
15 ราย |
5 ตัน |
15 ราย |
3. งานฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร 3.1 ป่าชุมชน/ป่าต้นน้ำ - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม - พื้นที่ปลูกใหม่ 3.2 โครงการป่าชาวบ้าน - บำรุงรักษาพื้นที่เดิม - พื้นที่ปลูกใหม่ |
10 ไร่ |
10 ราย |
10 ไร่ 25 ไร่ |
10 ราย 17 ราย |
50 ไร่ 18 ไร่
102.5 ไร่ 25 ไร่ |
23 ราย 1 ราย
60 ราย 19 ราย |
4. รณรงค์ทำแนวป้องกันไฟป่า |
15 กม. |
200 |
20 กม. |
200 |
25 กม. |
200 |
5. กิจกรรมการรณรงค์เพื่อลดใช้สารเคมี เกษตรกรได้รับการอบรม |
1 ครั้ง |
30 คน |
1 ครั้ง |
30 คน |
1 ครั้ง |
30 คน |
ข้อมูล ณ. พ.ศ. 2560