ยุทธศาสตร์ | สถานการณ์/ปัญหา | เป้าหมาย/แนวทางการพัฒนา | กลยุทธ์ |
1. การพัฒนาอาชีพบนพื้นฐานความรู้ |
1. การปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ข้าวโพด, กะหล่ำปลี) 2. มีการใช้สารเคมีสูง 3. ต้นทุนการผลิตสูง 4. ชนิดพืชที่ปลูกมีน้อย ไม่มีความหลากหลายของชนิดพืชที่ปลูก และไม่มีพืชทางเลือก 5. ราคาผลผลิตต่ำ 6. ไม่มีงบประมาณในการทำการเกษตร 7. พึ่งพาพ่อค้าคนกลาง |
1. ขยายพื้นที่การดำเนินงาน อีก 3 ชุมชนให้ครบทุกชุมชน (7 ชุมชน)
2. ลดพื้นที่ข้าวโพด ปีละ 500 ไร่ (2,500 ไร่) 3. เกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นปีละ 40 ราย (200 ราย) มีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 2,000,000 บาท (10,000,000 บาท) 4. รับรองมาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้นปีละ 40 ราย (200 ราย) ชนิดพืชเพิ่มขึ้นปีละ 2 ชนิด (10 ชนิด) 5. สร้างเกษตรกรผู้นำหมู่บ้านละ 15 คนต่อปี (75 คน) 6. พัฒนาการท่องเที่ยวให้ได้รับมาตรฐาน 1 ชุมชน 7. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ 7 ชุมชน 35 ฟาร์ม |
1. ส่งเสริมการปลูกพืชผักใช้พื้นที่น้อยที่ให้ผลตอบแทนสูง ภายใต้มาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP) 2. ส่งเสริมการปลูกไม้ผลยืนต้นและไม้ผลขนาดเล็ก 3. พัฒนาระบบการวิเคราะห์สารให้ได้มาตรฐานตามระบบโครงการหลวงและสามารถรองรับการวิเคราะห์สารในอนาคต 4. สร้างและพัฒนาเกษตรกรผู้นำเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในด้านต่างๆ 5. พัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้ได้รับมาตรฐานการท่องเที่ยว 6. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ |
2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการพัฒนาด้านการตลาด |
1. มีหนี้สินต่อครัวเรือนมาก (หนี้นอกระบบ) 2. การออมเงินมีน้อย 3. ไม่มีการรวมกลุ่มอาชีพในชุมชน (ไม่เกี่ยวกับสหกรณ์) 4. เข้าไม่ถึงแหล่งทุน (สถาบันการเงิน) |
1. จัดทำแผนชุมชนให้ครบทุกหมู่บ้าน (7 ชุมชน) 2. ส่งเสริมการออมเงินจากการจำหน่ายผลผลิต กก.ละ 2 บาท ทุกชุมชน (7 ชุมชน) 3. เพิ่มจำนวนสมาชิกสหกรณ์ฯปีละ 15 ราย (60 ราย) และเป็นจุดศูนย์กลางในการรวบรวมและจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร 4. รวบรวมและจำหน่ายผลผลิตในรูปแบบสหกรณ์ 1 สหกรณ์ 5. จัดกิจกรรมโครงการหมู่บ้านสะอาดทุกชุมชน (7 ชุมชน) 6. จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมทุกชุมชน (7 ชุมชน) |
1. ส่งเสริมการจัดทำแผนชุมชนและขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ 2. ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ และดำรงชีวิตให้อยู่ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. วางแผนการผลิตและการตลาดที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ โดยการขับเคลื่อนของกลุ่มในชุมชนและกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 4. ส่งเสริมการออมเงินตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง 5. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่ม (สหกรณ์ฯ) 6. จัดกิจกรรมโครงการหมู่บ้านสะอาดทุกชุมชน 7. จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรม 8. สร้างและพัฒนาผู้นำชุมชนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาในด้านต่างๆ |
3. การฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ |
1. มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรปริมาณมาก 2. น้ำมีการปนเปื้อนของสารเคมี 3. มีการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร 4. มีการเผาพื้นที่ทำกินและเผาป่า 5. สัตว์ป่าอนุรักษ์ถูกฆ่า 6. การทิ้งขยะในชุมชน |
1. จัดทำขอบเขตที่ดินรายแปลงให้ครบทุกชุมชน (7 ชุมชน) 2. ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทุกชุมชน 2,500 ไร่ (7 ชุมชน) 3. ส่งเสริมปลูกป่าชาวบ้าน ปีละ 30 ไร่ (150 ไร่) 4. เพิ่มพื้นที่ป่าไม้โดยปลูกไม้ผลยืนต้น 500 ไร่ 5. การปรับปรุงบำรุงดินโดยการทำปุ๋ยหมัก ปีละ 30 ตัน (150 ตัน) 6. การใช้สารเคมี/การคัดกรองโลหิต 7 ชุมชน (700 ราย) 7. ตรวจวิเคราะห์ดินและน้ำ ปีละ 20 ตัวอย่าง |
1. กำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและปรับระบบการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ 2. ปลูกและฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 3. ส่งเสริมปลูกป่าชาวบ้าน 4. ส่งเสริมการปลูกไม้ผลยืนต้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า 5. ส่งเสริมกิจกรรมการปรับปรุงบำรุงดินโดยการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ 6. รณรงค์ลดการใช้สารเคมี/การตรวจคัดกรองโลหิต 7. จัดตั้งธนาคารขยะ |
4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน |
1. พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดน้ำเพื่อการเกษตร 3. ถนนเข้าสู่พื้นที่การเกษตรอยากลำบาก |
1. ปรับปรุงถนนเข้าสู่พื้นที่การเกษตร 7 ชุมชน 2. ก่อสร้างฝาย ถังพักน้ำพร้อมระบบส่งน้ำเพื่อการอุปโภคระบบ 7 ชุมชน |
1. เสนอโครงการตามแผนชุมชนต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบและหน่วยงานเกี่ยวข้อง |
5. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ |
1. อำนวยการประสานงานบูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 1 แห่ง 2. พัฒนาระบบฐานข้อมูล 1 แห่ง |
1. ส่งเสริมและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานบูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 2. พัฒนาระบบฐานข้อมูล 3. เตรียมความพร้อมการถ่ายโอนภารกิจโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถาน โดยผ่านระบบการเยี่ยมเยียน การเรียนรู้และเครือข่ายความรู้ |
ที่มา : แผนกลยุทธ์รายศูนย์ (ปี2560) , สำนักพัฒนา