การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าจากฐานความรู้โครงการหลวงผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้แก่ครัวเรือน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพดั้งเดิม คือ ประกอบอาชีพการเกษตร โดยปลูกพืช ได้แก่ กะหล่ำปลี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พริกหวาน มะเขือเทศและข้าวไร่ โดยอาศัยน้ำฝน ต่อมาได้ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรโดยการส่งเสริมอาชีพทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำหน่ายตลาดโครงการหลวง ตลาดข้อตกลงและตลาดชุมชน เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร ดังนี้ ส่งเสริมการปลูกพืชผักในและนอกโรงเรือนที่ใช้พื้นที่น้อยแต่ให้ผลตอบแทนสูง ได้แก่ การปลูกพริกหวาน มะเขือเทศเนื้อ มะเขือเทศเชอรี่ แตงกวาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพืชที่สร้างมูลค่าสูง ส่งเสริมการปลูกไม้ผลที่มีเหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า ได้แก่ อาโวคาโด พลับ พีช องุ่น สตรอเบอรี่ เสาวรสหวาน มะม่วง เงาะ ทุเรียน เพื่อทดแทนการปลูกพืชไร่ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์, ประมง ได้แก่ สุกร ไก่ ปลา เพื่อสร้างรายได้เสริมและเพื่อบริโภค และส่งเสริมอาชีพนอกภาคการเกษตร ได้แก่ การท่องเที่ยว การแปรรูปผลิตภัณฑ์
จากข้อมูลรายได้จากการส่งเสริมในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถานปีงบประมาณ 2557 - 2562 พบว่ามีแนวโน้มรายได้จากการส่งเสริมเพิ่มสูงขึ้นจาก 5,870,533 บาทในปีงบประมาณ 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 16,785,429 บาท ในปีงบประมาณ 2562 และในปีงบประมาณ 2563 ข้อมูลรายได้จากการส่งเสริมข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน ปี 2563 อยู่ที่ 1,028,991 บาท