การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มมูลค่าจากฐานความรู้โครงการหลวงผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้แก่ครัวเรือน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพดั้งเดิม คือ ประกอบอาชีพการเกษตร ทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นแบบทำไร่หมุนเวียน คือปลูกข้าวไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้เกษตรกรมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพและมีหนี้สิน ต่อมาได้ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรโดยการส่งเสริมอาชีพทางเลือกใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการปลูกพืชผักในและนอกโรงเรือนซึ่งเป็นชนิดพืชที่สร้างรายได้มูลค่าสูงสุด ชนิดพืชได้แก่ พริกหวาน 3 สี กะหล่ำปลี คะน้า มะเขือเปราะ ไม้ผลที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ได้แก่ มะม่วง เงาะ อาโวกาโด และเสาวรสหวาน พืชไร่ ได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวนา ถั่วนิ้วนางแดง ถั่วเขียว ถั่วมะแฮะ จำหน่ายผลผลิตผ่านตลาดท้องถิ่น
จากข้อมูลรายได้จากการส่งเสริมในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงวังไผ่ปีงบประมาณ 2557 - 2562 พบว่ามีแนวโน้มรายได้จากการส่งเสริมเพิ่มสูงขึ้นจาก 2,591,170 บาทในปีงบประมาณ 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 5,464,665 บาท ในปีงบประมาณ 2562 และในปีงบประมาณ 2563 ข้อมูลรายได้จากการส่งเสริมข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน ปี 2562 อยู่ที่ 2,217,738 บาท
ที่มา : กลุ่มงานตลาด สำนักพัฒนา